ไปหน้ารวม เวบบอร์ด :
http://www.4x4.in.th/vision14/webboard.php?category=viewall



แผงหน้าปัดและอุปกรณ์ควบคุม
1. กล่องเก็บของ
2. ปุ่มโช๊ค
3. ที่เขี่ยบุหรี่
4. มาตรวัดความเร็ว
5. มาตรวัดระดับน้ำมันเชื่อเพลิง
6. มาตรวัดอุณหภูมิความร้อน
7. สวิทช์ไฟใหญ่ / สวิทช์ไฟเลี้ยว / สวิทช์ไฟหรี่
8. กุญแจสตาร์ท
9. สวิทช์ไฟกระพริบฉุกเฉิน
10. สวิทช์ปัดน้ำฝนกระจกหน้าและฉีดน้ำล้างกระจก
11. ช่องลมแอร์

 

มาตรวัดความเร็ว

- มาตรวัดความเร็วเป็น กม./ชม.

- เลขบอกระยะทาง จะบันทึกระยะทางทั้งหมดที่รถวิ่งไปได้

- เลขบอกระยะการเดินทาง ซึ่งสามารถปรับได้ จะแสดงระยะทางในการเดินทางแต่ละครั้งโดยกดปุ่มปรับตั้ง

ข้อควรระวัง
  • ให้สังเกตุดูระยะทางที่รถวิ่งได้ แล้วตรวจสอบการบำรุงรักษาตามระยะทาง

 

มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิง

เมื่อบิดสวิทช์กุญแจไปที่ตำแหน่ง "ON" เข็มวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิงจะชี้บอกปริมาณเชื้อเพลิงในถัง เข็มวัดชี้ที่ "F" หมายถึงน้ำมันเต็มถัง ชี้ที่ "E" หมายถึงน้ำมันหมด

มาตรวัดอุณหภูมิความร้อน

มาตรวัดอุณหภูมินี้ จะแสดงอุณหภูมิของระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ เมื่อบิดสวิทช์กุญแจสตาร์ทไปที่ตำแหน่ง "ON" หากขับรถในสภาวะปกติเข็มนี้จะอยู่ในเส้นกลางระหว่าง "H และ C" ถ้าหากเข็มชี้ไปทางเส้น "H" ขึ้นไป แสดงว่าเครื่องยนต์ร้อนจนเกินไป

ข้อควรระวัง

อย่าขับรถต่อไป หากเครื่องยนต์ร้อนจัดเกินไป (OVERHEAT)

 

ไฟสัญญาณและไฟเตือน

ไฟสัญญาณความดันน้ำมันเครื่อง (1)

ไฟนี้จะปรากฏขึ้นเมื่อหมุนกุญแจสตาร์ทไปที่ "ON" และจะดับเมื่อเครื่องยนต์ติด อย่างไรก็ตามมันจะปรากฏขึ้นอยู่หากระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์ผิดปกติ ถ้าเป็นเช่นนี้ให้รีบนำรถไปปรึกษาศูนย์บริการซูซูกิ ทันที่

ไฟสัญญาณไฟชาร์จ (2)

ไฟนี้จะปรากฏขึ้นเมื่อหมุนกุญแจสตาร์ทไปที่ "ON" และจะดับเมื่อเครื่องยนต์ติด หากไฟยังปรากฏขึ้นอยู่ แสดงว่ามีความผิดปกติในระบบชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ ถ้าเป็นเช่นนี้ ให้รีบนำรถไปปรึกษาศูนย์บริการซูซูกิทันที่

 

สัญญาณไฟเลี้ยว ตามรูปหมายเลข (4) และ (5)

ไฟสัญญาณนี้จะกระพริบพร้อมกันกับไฟเลี้ยว เมื่อผลักคันสวิทช์ขึ้น ไฟสัญญาณจะกระพริบด้านซ้าย (ตามหมายเลข 4) ไฟเลี้ยวซ้ายจะทำงาน และเมื่อผลักคันสวิทช์ลง ไฟสัญญาณจะกระพริบที่ด้านขวา (ตามหมายเลข 5) ไฟเลี้ยวขวาจะทำงาน

ไฟสัญญาณขับเคลื่อน 4 ล้อ หมายเลข (6)

เมื่อกุญแจสตาร์ทอยู่ในตำแหน่ง "ON" ไฟสัญญาณจะแสดงคำว่า "4WD" หากเกียร์ช่วย (เกียร์สโลว์) อยู่ในตำแหน่ง 4H หรือ 4L

สัญญาณไฟสูงหมายเลข (7)

เมื่อบิดกุญแจสวิทช์ไปที่ตำแหน่ง ON สัญญาณนี้จะปรากฏบนหน้าปัด เมื่อไฟอยู่ในตำแหน่งไฟสูง และจะหายไปเมื่อปรับตำแหน่งไฟใหญ่ไปอยู่ที่ไฟต่ำ

 

กุญแจาตาร์ท

LOCK ในการจอดปกติ อุปกรณ์ต่างๆ และเครื่องยนต์จะไม่ทำงาน ถ้าดึงกุญแจสตาร์ท
ออกจะเกิดการล็อคในระบบสตาร์ทและพวงมาลัยกุญแจจะถูกดึงออกได้เฉพาะในตำแหน่ง
(
LOCK) เท่านั้น ในการปลดล็อคพวงมาลัย ให้สอดกุญแจเข้าไปแล้วหมุนไปในตำแหน่ง
"ACC" หรือตำแหน่งอื่นๆ ในการปลดล็อคให้ง่ายขึ้นควรขยับพวงมาลัยเล็กน้อยระหว่าง
หมุนกุญแจตามเข็มนาฬิกา

ACC ถ้าบิดกุญแจสตาร์ทไปในตำแหน่งนี้เครื่องยนต์จะยังไม่ทำงาน แต่อุปกรณ์บางอย่างอาจทำงานได้

ON เป็นตำแหน่งที่เครื่องยนต์พร้อมที่จะทำงาน

START เป็นตำแหน่งเริ่มต้นสตาร์ทเครื่องยนต์ กุญแจควรจะถูกปล่อยจากตำแหน่งนี้
ทันทีที่เครื่องยนต์ทำงาน

ข้อควรระวัง

1. อย่าสตาร์ทรถจนทำให้สตาร์ทเตอร์หมุนต่อเนื่องกันเกิน 5 วินาที ถ้าเครื่องยนต์ไม่ติดหลังจากพยายามสตาร์ทใหม่ ให้ลองเช็คระบบน้ำมันเชื้อเพลิงและระบบจุดระเบิด หรือปรึกษาศูนย์บริการรถยนต์ ซูซูกิ
2. อย่าทิ้งกุญแจสตาร์ทในตำแหน่ง
"ON" เป็นระยะเวลานาน นอกจากเครื่องยนต์ทำงานอยู่ อีกอย่างจะทำให้แบตเตอรี่เสียได้

 

สวิทช์ควบคุมไฟส่องสว่าง

ก้านสวิทช์จะอยู่ด้านขวาของแกนพวงมาลัย มีการทำงาน 3 ตำแหน่งคือ
ตำแหน่ง 1
OFF ไฟส่องสว่างจะดับหมด
ตำแหน่ง 2 ไฟหรี่ ไฟท้าย ไฟส่องป้าย และไฟที่แผงหน้าปัดทำงาน
ตำแหน่ง 3 ไฟใหญ่หน้ารวมไฟในตำแหน่งที่ 2 ทำงาน

  • สวิทช์ไฟเลี้ยว ทำงานได้โดยผลักคันสวิทช์ขึ้นหรือลง ผลักขึ้นเมื่อต้องการเลี้ยวซ้าย และผลักลงเมื่อต้องการเลี้ยวขวา
  • ไฟสูงและไฟต่ำ ทำงานได้โดยกดก้านสวิทช์ลงเมื่อต้องการไฟสูง และผลักก้านสวิทช์ให้อยู่ในตำแหน่งเดิมเมื่อต้องการไฟต่ำ
  • ไฟขอทาง ทำงานได้โดยดึงคันสวิทช์เข้าหาพวงมาลัย

 

สวิทช์ปัดน้ำฝนและฉีดน้ำล้างกระจก

เมื่อท่านต้องการฉีดน้ำล้างกระจก และใช้ใบปัดน้ำฝนบนหน้ากระจกหน้าให้ปฏิบัติดังนี้

1. บิดก้านสวิทช์ให้อยู่ในตำแหน่ง "LO" ใบปัดน้ำฝนจะทำงานในจังหวะช้า ถ้าบิดไปในตำแหน่ง "HI" ใบปัดน้ำฝนจะทำงานในจังหวะเร็ว, ถ้าอยู่ในตำแหน่ง "INT" จะเป็นจังหวะปัดแล้วหยุดเป็นระยะๆ

2. เมื่อต้องการน้ำฉีดกระจกหน้า ให้ดึงก้านสวิทช์เข้าหาตัว

ข้อควรระวัง

1. เมื่อกดก้านสวิทช์ฉีดน้ำกระจกแล้วน้ำไม่ออก จะต้องหยุดทันที่ เพราะอาจจะทำให้มอเตอร์ฉีดน้ำล้างกระจกเสียหายได้

2. อย่าใช้ใบปัดน้ำฝนปัดหน้ากระจกในขณะที่กระจกไม่เปียกน้ำ เพราะอาจมีสิ่งสกปรกเกาะอยู่บนกระจกที่แห้ง ซึ่งจะทำให้กระจกและใบปัดน้ำฝนเสียหายได้

 

สวิทช์ไฟกระพริบฉุกเฉิน

เมื่อดึงสวิทช์นี้ ไฟสัญญาณเลี้ยวจะกระพริบ ทำงานทุกดวง เพื่อเตือนผู้ขับรถหรือคนเดินเท้าอื่นๆ ให้รู้ว่า รถของท่านเสียหรือต้องจอดด้วยกรณีฉุกเฉิน

แตร

แตรจะดังเมื่อท่านกดฝาแตร ซึ่งอยู่บนพวงมาลัย

 

ไฟส่องสว่างในห้องโดยสาร

ไฟส่องสว่างในห้องโดยสารจะมี 3 ตำแหน่ง คือ

1. ไฟจะสว่างตลอดเวลา ไม่ว่าประตูจะเปิดหรือปิดก็ตาม
2. ไฟจะสว่างเมื่อประตูเปิด
3. ไฟจะดับตลอดเวลา

ปุ่มโช็ค ใช้ช่วยในการสตาร์ทเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์เย็น

 

กล่องเก็บของด้านหน้า
สามารถล็อคได้โดยใช้กุญแจสตาร์ท

ที่เขี่ยบุหรี่
เมื่อต้องการใช้ที่เขี่ยบุหรี่ ให้ดึงออกมา และเมื่อต้องการทำความสะอาดให้กดและดึงออกจากที่ของมัน

แผงบังแดด
ใช้ป้องกันแสงแดดเข้าตา โดยดึงแผงบังแดดให้ต่ำลงมา

 

คันเบรคมือ

เมื่อจอดรถทุกครั้งจะต้องดึงคันเบรคมือขึ้น คันเบรคมือเมื่อถูกดึงขึ้นจะล็อคเพลากลางไว้ และเมื่อต้องการปลดเบรคมือ ให้ดึงคันเบรคมือขึ้นเล็กน้อย แล้วจึงกดปุ่มด้านหน้าเข้า แล้วลดคันเบรคมือลงจนสุด

ข้อควรระวัง
  • เบรคมือไม่สามารถป้องกันการเคลื่อนที่ของรถได้หากไม่ดึงให้สุด

 

แป้นเหยียบขาคลัช ขาเบรค ขาคันเร่ง

1. แป้นขาคลัช

2. แป้นขาเบรค
เมื่อท่านเหยียบแป้นขาเบรค จะทำให้รถหยุดทั้ง 4 ล้อ บางครั้งเบรคอาจจะมีเสียงดัง ซึ่งอาจเกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น ความหนาว ความเปียกชื้น หิมะ หรืออื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้ามีเสียงดังมากเกินไป และเกิดขึ้นทุกครั้งในขณะที่เหยียบเบรค จะต้องให้ช่างตรวจสอบ

3. แป้นขาคันเร่ง
แป้นนี้ควบคุมรอบเครื่องยนต์ เมื่อท่านเหยียบคันเร่งรอบเครื่องยนต์และกำลังจะเพิ่มขึ้น

ข้อควรระวัง

อย่าขับรถโดยที่ท่านยังวางเท้าอยู่บนแป้นขาคลัช ซึ่งอาจทำให้แผ่นคลัชสึกหรือเสียหาย

 

คันเกียร์

รถของท่านจะมี 5 เกียร์เดินหน้า และ 1 เกียร์ ถอยหลัง ตำแหน่งของเกียร์ต่างๆ จะแสดงไว้ตามรูป

ข้อสังเกตุ

ท่านจะไม่สามารถเปลี่ยนเกียร์จากเกียร์ที่ 5 มาเป็นถอยหลังได้โดยตรง ท่านจะต้องเข้าเกียร์ว่างก่อน แล้วจึงจะเข้าเกียร์ถอยหลังได้

 

คันเกียร์ช่วย (เกียร์สโลว์)

2H : ขับเคลื่อน 2 ล้อหลังเร็ว เป็นตำแหน่งที่ควรใช้งานปกติ บนสภาพถนนที่แห้งและแข็ง

4H : ขับเคลื่อน 4 ล้อเร็ว เป็นตำแหน่งที่ควรใช้เมื่อต้องการกำลังที่สูงกว่า การขับเคลื่อนด้วย 2 ล้อ ให้ใช้ขับเคลื่อน 4 ล้อเร็วในสภาพที่ลื่นไถล เปียก มีหิมะ ที่เป็นโคลนตม ฯลฯ หรือตามสภาพภูมิประเทศที่ไม่ใช่ถนนปกติ

4L : ขับเคลื่อน 4 ล้อช้า ใช้ขับตามภูเขาที่ลาดชัน หรือขับตามภูมิประเทศทุรกันดาร

เมื่อท่านจะใส่เกียร์ช่วย ให้เหยียบแป้นขาคลัชลงไปให้สุด ถ้าเกียร์ช่วยใส่ยาก ให้พยายามเหยียบคลัชอีกครั้ง หรือให้เคลื่อนรถไปช้าๆ แล้วพยายามใส่เกียร์ช่วยอีกครั้ง
ข้อควรระวัง

เพื่อป้องกันเกียร์ช่วยไม่ให้เสียหาย ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำข้างล่างนี้

  • ต้องให้รถหยุดนิ่งอยู่กับที่ก่อนที่จะเข้าเกียร์ช่วย จาก 4H ไป 4L หรือจาก 4L ไป 4H
  • การเปลี่ยนเกียร์ช่วยจาก 4H ไป 2H หรือ 2H ไป 4H ควรทำเมื่อรถวิ่งในทางตรงเท่านั้น

 

FREE - WHEELING HUBS (อุปกรณ์ติดตั้งพิเศษ)

Free Wheel Hub ทำหน้าที่ตัดการขับเคลื่อนของเพลาหน้า ดังนั้นชิ้นส่วนของเพลาหน้า และเฟืองท้ายหน้าจะไม่หมุนตาม เมื่อต้องการขับเคลื่อน 2 ล้อหลัง ฃึ่งจะช่วยให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ลดเสียงดัง และลดการสึกหลอของเพลาหน้า, เฟืองท้ายหน้า เมื่อใช้เกียร์ช่วยในตำแหน่ง 2H จะต้องเลื่อนตำแหน่ง free wheel hub ไปที่ "FREE" ทั้ง 2 ข้าง และเมื่อใช้เกียร์ช่วยในตำแหน่ง 4H หรือ 4L เพื่อขับเคลื่อน 4 ล้อ จะต้องเลื่อนตำแหน่ง free wheel hub ไปที่ตำแหน่ง "LOCK" ทั้ง 2 ข้างเช่นกัน
ข้อสังเกต
  • เมื่อจะขับเคลื่อน 4 ล้อ (4H หรือ 4L) ต้องแน่ใจว่า free wheel hub ทั้ง 2 ข้างอยู่ในตำแหน่ง "LOCK" หากข้างหนึ่งอยู่ในตำแหน่ง "LOCK" อีกข้างหนึ่งอยู่ในตำแหน่ง "FREE" ท่านจะไม่สามารถขับเคลื่อน 4 ล้อได้ ถึงแม้จะเข้าเกียร์ 4H หรือ 4L
  • ขอแนะนำให้ปรับ free wheel hub ในตำแหน่ง "LOCK" เดือนละครั้ง เมื่อปรับแล้วให้ขับไปสัก 3-4 กม. การดำเนินการเช่นนี้ จะทำให้การทำงานของ free wheel hub เป็นไปด้วยความสม่ำเสมอและเกิดการหล่อลื่นไปยังชิ้นส่วนของเพลาหน้า
ข้อควรระวัง
  • เมื่อท่านจะปรับ Free wheel hub ให้หมุนจนกระทั่งหยุดที่เครื่องหมาย D ทั้ง 2 ข้าง ถ้า Free wheel hub อยู่ในตำแหน่งกลางๆ Free wheel hub อาจเสียหายได้ เมื่อระบบส่งกำลังถูกใช้งาน
  • โปรดระมัดระวัง หลังจาก Free wheel hub ถูกใช้งานแล้วจะร้อน ถ้าจะปรับจะต้องระมัดระวังให้มาก

สารบัญ