ไปหน้ารวม เวบบอร์ด :
http://www.4x4.in.th/vision14/webboard.php?category=viewall



การสตาร์ทและการขับ

สตาร์ทเครื่องยนต์

1. ดึงเบรคมือขึ้นให้สุด
2. เหยียบคลัชจนติดพื้นเพื่อเข้าเกียร์ว่าง ควรเหยียบคลัชไว้ขณะสตาร์ทเครื่องยนต์
3. สตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยวิธีต่อไปนี้ (พิจารณาตามอุณหภูมิเครื่องยนต์)

เมื่อเครื่องยนต์เย็น

  • ปั๊มคันเร่ง 3-4 ครั้ง กรณีอุณหภูมิต่ำกว่า -10C และปั๊มคันเร่ง 1-2 ครั้ง ถ้าอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -10C ถึง 0C

  • ดึงปุ่มโช๊คให้สุด

  • บิดสวิทช์กุญแจไปที่ตำแหน่ง "START" เพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์

  • ปรับตำแหน่งโช๊ค เพื่อให้เครื่องยนต์เดินด้วยรอบเดินเบา ที่ความเร็วปานกลาง

  • ควบคุมโช็คต่อไปจนกระทั่งเครื่องยนต์สามารถเดินได้เรียบ แล้วกดโช๊คคืนสู่ตำแหน่งเดิม

เมื่อเครื่องยนต์ร้อน

  • เหยียบคันเร่งเบา ๆ อย่าปั๊มคันเร่ง

  • สตาร์ทเครื่องยนต์ บิดสวิทช์ไปที่ตำแหน่ง "START"

ข้อควรระวัง
  • เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว ให้ปล่อยมือจากกุญแจสตาร์ททันที มิฉะนั้นจะทำให้สตาร์ทเตอร์เสียหายได้
  • อย่าให้สตาร์ทเตอร์ (ไดสตาร์ท) ทำงานติดต่อกันนานกว่า 5 วินาที่ หากสตาร์ทครั้งแรกไม่ติดให้รออีกประมาณ 10 วินาที จึงเริ่มสตาร์ทใหม่

การออกรถและการขับขี่

ขั้นแรก ให้ตรวจสอบรอบ ๆ เพื่อดูว่ามีรถกำลังวิ่งมาหรือมีสิ่งกีดขวางหรือไม่ ขณะเดียวกันก็เหยียบแป้นขาคลัช แล้วเข้าเกียร์ต่ำ เมื่อระบบส่งกำลังอยู่ที่เกียร์ต่ำแล้วปลดเบรคมือและเหยียบแป้นคันเร่งช้าๆ ขณะที่ค่อย ๆ ปล่อยขาคลัชตั้งใจฟังเสียงเครื่องยนต์ จะเป็นการช่วยในการใช้คลัช อย่าใช้แป้นขาคลัชเป็นที่พักเท้าขณะที่ขับรถ หรือเหยียบคลัชเพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ เพื่อให้รถอยู่ได้บนที่ลาดชัน เพราะจะทำให้คลัชเสียหายได้
ขณะที่ขับรถ ผู้ขับขี่ควรสังเกตแผงหน้าปัด และไฟสัญญาณต่างๆ หลีกเลี่ยงการเบรคอย่างกระชั้นชิดและการเร่งรอบเครื่องยนต์สูงๆ อันจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื่อเพลิงเพิ่มขึ้น

ความเร็วที่เหมาะสมในการเปลี่ยนเกียร์

ขณะที่กำลังเปลี่ยนเกียร์ หรือกำลังจะดับเครื่องยนต์ไม่ควรเร่งเครื่อง (เกียร์เดินหน้าทุกเกียร์เป็นแบบฃินโครเมชจึงทำให้การเข้าเกียร์ง่ายและไม่ทำให้เกิดเสียงดัง) การเปลี่ยนเกียร์จะต้องให้สัมพันธ์กับรอบความเร็วของเครื่องยนต์ ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของรถ และจะประหยัดน้ำมันเชื่อเพลิงด้วย

ตารางต่อไปนี้จะแสดงช่วงความเร็วที่ควรใช้ในแต่ละเกียร์

เกียร์ช่วยอยู่ในตำแหน่ง 2H หรือ 4H

ตำแหน่งเกียร์

ช่วงความเร็ว

ต่ำ

0-30 km/h

2

10-60 km/h

3

20-80 km/h

4

30 km/h - Max

5

60 km/h - Max

 

เกียร์ช่วยอยู่ในตำแหน่ง 4L

ตำแหน่งเกียร์

ช่วงความเร็ว

ต่ำ

0-20 km/h

2

10-35 km/h

3

15-50 km/h

4

20-70 km/h

5

40-90 km/h

การเบรค

ระยะทางที่รถจะหยุดหลังจากเหยียบเบรค จะเพิ่มขึ้นตามความเร็วของรถ เช่น ความเร็วที่ 60 กม./ชม. จะใช้ระยะทางเบรคเป็น 4 เท่าของความเร็วที่ 20 กม./ชม. การเหยียบเบรคควรมีระยะที่เพียงพอกับตำแหน่งที่จะหยุด และลดความเร็วลงทีละเล็กละน้อย

ในกรณีน้ำเข้าไปในจานเบรค ซึ่งอาจเกิดจากการขับลุยน้ำลึกๆ หรือการอัดฉีดใต้ท้องรถ จะทำให้ประสิทธิภาพในการเบรคลดลง และไม่สามารถควบคุมการเบรคได้ตามต้องการ กรณีเช่นนี้ควรขับรถช้าๆ แล้วแตะเบรคเบาๆ หลายๆ ครั้ง เพื่อให้ผ้าเบรคแห้ง อย่าขับรถด้วยความเร็วสูงจนกว่าเบรคจะทำงานตามปกติ

หม้อลมช่วยเบรค

แม้ว่ากำลังช่วยในการหยุดรถอาจสูญเสียไปบ้างเนื่องจากเครื่องยนต์อาจจะดับหรือสาเหตุอื่นก็ตาม ระบบเบรคก็ยังทำงานมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ด้วยกำลังสำรอง โดยการเหยียบแป้นขาเบรคเพียงครั้งเดียวและย้ำตามลงไป กำลังสำรองจะถูกใช้ไปบางส่วนและจะลดลงไปด้วยทุกครั้งที่เหยียบแป้นขาเบรคให้เหยียบเบรคอย่างนิ่มนวลและสม่ำเสมอ อย่าปั๊มแป้นขาเบรคขึ้นๆ ลงๆ
คำเตือน
แม้จะไม่มีกำลังสำรอง เราสามารถหยุดรถได้โดยการเหยียบแป้นขาเบรคแรงขึ้นกว่าปกติ อย่างไรก็ตามระยะทางของการหยุดอาจจะยาวขึ้นบาง

ระยะรัน - อิน

เพื่อให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพดี ประหยัด และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จำเป็นจะต้องมีการ รัน - อิน ก่อนที่จะใช้งานปกติ ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
  • อย่าขับรถด้วยความเร็วสูงเกินกว่ากำหนดในระหว่างรัน - อิน
  • อย่าขับรถด้วยความเร็วสูง ก่อนที่เครื่องยนต์จะอุ่นถึงอุณหภูมิทำงาน
ตารางต่อไปนี้จะแสดงความเร็วสูงสุดที่กำหนดในแต่ละเกียร์ระหว่างรัน - อิน
ความเร็วสูงสุด เกียร์ช่วยอยู่ในตำแหน่ง "2H" หรือ "4H"  

ความเร็วสูงสุด

เกียร์ช่วยอยู่ในตำแหน่ง "4L"
ตำแหน่งเกียร์ 1000 km แรก ตำแหน่งเกียร์ 1000 km แรก
ต่ำ 15 km/h ต่ำ 10 km/h
2 30 km/h 2 20 km/h
3 50 km/h 3 30 km/h
4 70 km/h 4 40 km/h
5 90 km/h 5 50 km/h

คำแนะนำในการขับ
เมื่อต้องการขับรถด้วยความเร็วสูง ควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ระยะทางก่อนการหยุดจะขึ้นอยู่กับความเร็วของรถ เมื่อท่านต้องการหยุด ให้เหยียบเบรคล่วงหน้าเพื่อให้ได้ระยะหยุดตามต้องการ
  • ควรขับรถที่ความเร็วต่ำเมื่อผิวถนนเปียก เช่นเวลาฝนตก เพราะไม่เพียงแต่มีปัญหาในการมองเห็น ยังจะมีปัญหาในด้านการสูญเสียการเกาะถนนของยาง เนื่องจากมีน้ำระหว่างยางและถนน การบังคับพวงมาลัยและการเบรคจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • ในขณะที่ขับด้วยความเร็วสูง รถได้รับแรงลมปะทะด้านข้าง จึงควรลดความเร็วตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันการเสียการทรงตัวที่ไม่ได้คาดคิด ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อท่านขับรถออกจากอุโมงค์ หรือขับรถบนถนนที่ตัดผ่านภูเขา หรือสวนกับรถคันใหญ่ๆ

การขับบนเนินเขา

  • เมื่อขับรถขึ้นบนเนินเขาชัน รถอาจจะเริ่มช้าลงและเสียกำลัง ให้รีบเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำ ซึ้งจะทำให้เครื่องยนต์มีกำลังปกติ
  • เมื่อขับรถลงจากเนินเขา ถ้าต้องการชลอความเร็ว ให้ใช้เกียร์ต่ำจะทำให้ช่วยชลอความเร็วได้
  • ระวังอย่าให้รอบของเครื่องยนต์สูงเกินกว่าปกติ

การขับแบบประหยัดน้ำมัน

  • อย่าติดเครื่องยนต์นานเกิน 1 นาที กรณีที่ท่านไม่ได้ขับรถอยู่บนถนนหลวง ถ้าต้องการจะอุ่นเครื่องยนต์ ให้ติดเครื่องยนต์จนเข็มอุณหภูมิชี้ไปที่ "C" ในตำแหน่งนี้เครื่องยนต์จะร้อนพอเพียงที่จะเริ่มออกรถได้แล้ว
  • หลีกเลี่ยงการเร่งหรือหยุดทันทีทันใด จะทำให้กินน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่จำเป็น และจะทำให้เครื่องยนต์มีอายุสั้นด้วย
  • ให้ขับรถที่ความเร็วสม่ำเสมอเท่าที่สภาพถนนและสภาพการจราจรจะอำนวยให้
  • ใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับความเร็วของรถ
  • อย่าปั้มคันเร่ง
  • ปรับแต่งเครื่องยนต์ตามกำหนดเวลาบำรุงรักษา
  • รักษาน้ำหนักของรถให้เบาที่สุด รถมีน้ำหนักมากเท่าใด อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันยิ่งสูงขึ้น จงนำสัมภาระหรือสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกจากรถ
  • สูบลมยางให้ใด้ตามค่ากำหนดอยู่เสมอ ซึ่งแสดงไว้นวมหน้าปัดข้างๆ คนขับ ทำความสะอาดไส้กรองอากาศอยู่เสมอ

สารบัญ