จำนวนถาม : จำนวนตอบ : รวมทั้งหมด : 0 มีข้อความ |
|
ข้อความเลขที่ : 7 เพิ่มเติมละกัน ครับ
ตู้เชื่อมแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.ตู้เชื่อม AC อันนี้ สังเกตุ ง่ายๆ เลย จะหนักมากๆ จะเห็นแต่เส้นลวดทองแดงขดไปขดมา
จนเวียนหัว พวกนี้ Volt เท่าไหร่ ผมไม่เคยวัด แต่ไอ้ที่หมุนๆ กัน ก็คือปรับกระแสในการ
สปาร์ค หรือ ละลายลวดเชื่อมกับชิ้นงานให้เหมาะสม ครับ
2.ตู้เชื่อม D.C. หรือ ตู้เชื่อมกระแสตรง (เหมือนเราเอาแบตเตอรี่ หลายๆลูกมาขนานกัน
หรืออนุกรมกันนั่นแหล่ะ คับ) อันนี้ส่วนมากจะใช้วงจรสวิทชิ่ง เป็นหลัก เพื่อให้พวก Power Transistor ไปขยายกระแส ให้สูงขึ้น เราจึงเห็นได้ว่า เครื่องเชื่อมตัวเล็ก ทำไมจ่ายกระแสได้มากกว่า แบตต ซะอีก และก็น้ำหนักเบาด้วย เวลาเชื่อม เราต้องคำนึงถึงขั้วด้วย นั่นคือ ขั้วลบจับชิ้นงาน
ขั้วบวก จับลวดเชื่อมเป็นต้น แรงดันที่ใช้จะไล่จาก 40Vd.c. ถึง 70 Vd.c.
ข้อดีของเครื่องเชื่อมแบบนี้คือ
เบา,ไม่ต้องต่อสายไฟเส้นใหญ่โตในขณะที่กระแสเชื่อมเท่ากันกับแบบขดลวด,กระแสไฟที่เชื่อมนิ่ง แน่นอน
ข้อเสีย
แพง,ถ้าวงจรสวิมย์ชิ่งรั่ว อาจจะโดนไฟดูดได้(แรงด้วยคับ แต่ไม่ถึงตาย),เชื่อมลากยาวๆหรือต่อเนื่องไม่ค่อยได้ ตรงนี้ ถ้ายี่ห้อที่มีการระบายความร้อนดีๆ และแพง ปัญหาตรงนี้ก็จะหมดไป ครับ
นี่ข้ออีกหนึ่งข้อมูล คับ
|
|