จำนวนถาม : จำนวนตอบ : รวมทั้งหมด : 0 มีข้อความ |
|
ข้อความเลขที่ : 26
อ่านบทความนี้แล้วท่านคิดอย่างไร
จาก ฎน
111.84.29.100
พุธที่ , 14/7/2553
เวลา : 22:35
อ่านแล้ว = 498 ครั้ง
เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
วันที่ อังคาร มิถุนายน 2552
ย้อนรอยคุณ Bluehill กับเส้นทางหลุมจังหวัด น้ำตกบ่อทอง เมืองแปดริ้ว
ได้ติดตามเรื่องราวต่างๆ ของเหล่า blogger รู้สึกประทับใจ สนุกสนาน อบอุ่น เศร้า หดหู่ ฯลฯ ในเรื่องราวของแต่ละท่าน
มีโอกาสได้สัมผัสแวดวงชาวป่าไม้ หลายแง่มุม หลายรสชาด บางทีอาจไม่มีใครรู้ แม้แต่คิดก็อาจคิดไม่ถึง จึงอยากถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ แนวคิด ทั้งสุขและเศร้า ดีใจและเสียใจ ฯลฯ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน
แต่มิเคยเขียนอะไรที่เป็นเรื่องเป็นราว นอกจากเรียงความตอนประถม จึงอาจมีจุดอ่อน ข้อบกพร่องมากมาย ก็หวังว่าจะเป็นก้าวแรก เพื่อจะได้ก้าวต่อไป
.
.
ย้อนรอยคุณ Bluehill กับเส้นทางหลุมจังหวัด น้ำตกบ่อทอง เมืองแปดริ้ว
เราไม่ได้รังเกียจออฟโรด แต่เรารังเกียจพฤติกรรมบางอย่างของคนหลังพวงมาลัย เป็นคำพูดของอดีตผู้ช่วยหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน / หัวหน้าหน่วยพิทักษ์ป่าหลุมจังหวัด , หน่วยฯ น้ำตกบ่อทอง
จาก บล็อก ของคุณ Bluehill ว่าด้วยเรื่องเส้นทางหลุมจังหวัด น้ำตกบ่อทอง จึงอยากย้อนรอยเส้นทางนี้สู่กันฟัง/อ่าน (ข้อมูลละเอียดดูที่บล็อกคุณ Bluehill ค่ะ) ในอดีตเส้นทาง บ้านร่มโพธิ์ทอง หน่วยฯ หลุมจังหวัด หน่วยฯ น้ำตกบ่อทอง ในฤดูฝนมีสภาพชื้นแฉะ เป็นหลุม เป็นบ่อ (โคลน) บางครั้งมีต้นไม้โค่นล้มขวางเส้นทาง และ เกือบขวางทาง บางจุดเป็นสะพานลักษณะเป็นไม้พาดพอดีล้อรถ บางจุดเป็นเนินหินโผล่ มีร่องน้ำลึกอยู่อีกด้านของเส้นทาง บางจุดหน้าน้ำมาจะท่วมสูงถึงไฟหน้ารถ
จึงมีชื่อเสียงในกลุ่มออฟโรด ซึ่งมักจะขอเข้ามาใช้เส้นทางทดสอบสมรรถนะของรถ ทักษะของคนขับ เป็นประจำ แต่ก็มีกลุ่มออฟโรดบางกลุ่มขอเข้าพื้นที่เพื่อสัมผัสธรรมชาติ หลบความวุ่นวายของเมือง พาครอบครัว เด็กๆ มาพักผ่อน ปลูกฝังการเคารพธรรมชาติ การอยู่กับธรรมชาติ ใช้เส้นทางอย่างระมัดระวัง
เราจึงไม่สามารถตัดสินได้ว่ากลุ่มไหนไร้จิตสำนึก กลุ่มไหนมีจิตสำนึก จนกว่าจะเห็นการกระทำของเขา
การกระทำที่ไร้จิตสำนึกของกลุ่มออฟโรดบางกลุ่ม
- กระโจนใส่หลุมโคลน (เจ้าหน้าที่แอบค่อนแคะว่า ยังกับควายเห็นปลัก) อย่างแรง ด้วยรถที่มีล้อใหญ่มากก ไม่พอยังปั่นล้อในแอ่งโคลน ต้นไม้ข้างๆ เต็มไปด้วยโคลนซะครึ่งต้น ที่สำคัญไม่ได้มีคันเดียวแต่เป็นขบวน
- ตัดต้นไม้ เพื่อจะใช้งัดรถขึ้นจากโคลน หรือ รองล้อ บางกลุ่มตัดต้นไม้ข้างๆ ทำเป็นทางเบี่ยง ก็มี บางกลุ่มรถลื่นไปชนต้นไม้หักบ้าง ถลอกปอกเปิกบ้าง ก็มี
- ขับรถแรง กระแทกจนสะพานไม้หัก ลำบากเจ้าหน้าที่ต้องซ่อมอีก ไหนจะเดินป่า ไหนต้องคอยซ่อมสะพาน
- เสียงดังสนั่นป่า จากเครื่องเสียงมั่ง เสียงเครื่องมั่ง เสียงคนก็มี
ฯลฯ
ผลกระทบจากการกระทำที่ไร้จิตสำนึก
- เจ้าหน้าที่มีความยากลำบากในการเข้าพื้นที่เพื่อลาดตระเวนตรวจตราการกระทำผิด รถยนต์ราชการแต่ละคันอายุไม่น้อยกว่า 10 ปี สภาพไม่สู้ดีนัก ยางก็เล็กๆ เส้นทางที่เป็นหลุมลึกบางครั้งก็ไม่สามารถใช้เข้าพื้นที่ได้ บางครั้งก็ติดหล่มอยู่กลางทาง บางครั้งก็เสียจมน้ำจมโคลนอยู่บนทางนั่นเอง เคยมีกรณีจับผู้ต้องหาลักลอบหาไม้หอมได้ในพื้นที่หน่วยฯ น้ำตกบ่อทอง แต่ทางเละ รถยนต์ไม่สามารถเข้าไปรับได้ (รถยนต์อยู่หน่วยฯ หลุมจังหวัด) ทั้งเจ้าหน้าที่ ทั้งผู้ต้องหาต้องพากันเดินเท้าออกมา พร้อมของกลางหนัก 40 50 กิโลกรัม มืดๆ (มีเกี่ยงกันแบกของกลางด้วย ผู้ต้องหาไม่ยอมแบก กะจะเอาคืนเจ้าหน้าที่ซักนิดก็ยังดี) มีบางครั้งเจ้าหน้าที่ป่วย (สมัยก่อนไข้มาลาเรียชุกชุม) รถยนต์เข้าไม่ได้ต้องพากันแบกใส่มอเตอร์ไซด์ออกมาอย่างทุลักทุเล บางครั้งเจ้าหน้าที่ก็แอบบ่นกัน เขามาใช้พื้นที่ 2 วัน แล้วก็ไป เราต้องใช้เส้นทางนี้อีก 4 เดือน
- เต่าใบไม้ชอบมาอยู่ตามแอ่งน้ำขังในเส้นทาง ชูคอดูน่ารักในฤดูฝน พอถึงฤดูแล้งเต่าที่น่ารักก็ติดอยู่บนพื้นเส้นทางที่แห้งแข็งในสภาพกระดองแตกละเอียด (ปกติถ้าขับช้าๆ น้ำจะไหลไปข้างหน้า เต่าก็จะไหลตามแล้วคลานออกนอกทาง)
- สภาพเส้นทางดังกล่าวยังเป็นเหตุให้รถยนต์ราชการต้องเสียอยู่บ่อยครั้ง น้ำเข้าเครื่องบ้าง ลื่นไปชนต้นไม้บ้าง ลูกปืนต้องเปลี่ยนบ่อยๆ ผ้าเบรกเจอน้ำผสมโคลนเข้าไปหมดเร็วมาก เฟืองท้ายน้ำเข้า ระบบช่วงล่างต้องซ่อมเป็นประจำ ผลที่ตามมาค่าซ่อมก็เพิ่มขึ้นมาก ปกติงบประมาณก็น้อยอยู่แล้วพอแต่ค่าน้ำมันวิ่งรับส่งเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนป่า หรือวิ่งลาดตระเวนแนวเขต แล้วต้องเสียค่าซ่อมอีก สุดท้ายเจ้าหน้าที่ต้องเดินลาดตระเวนไกลขึ้น เพราะต้องลดการวิ่งรับส่งเพื่อลดน้ำมันลดงบประมาณ (แต่งานเท่าเดิม) ไว้ชดเชยค่าซ่อมแต่ละปีพอบ้างไม่พอบ้าง บางปีค่าซ่อมข้ามงบไปอีกปี ก็มี
- หาเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน / ประจำหน่วยฯ ยาก เพราะเข้าออกยาก งานหนัก ไม่ได้กลับบ้าน พอออกแล้วก็ไม่อยากกลับ บางคนขอลากลับบ้านแล้วก็หายไปเลย
ฯลฯ
มาตรการควบคุมกลุ่มออฟโรด ของอดีตผู้ช่วยหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน / หัวหน้าหน่วยพิทักษ์ป่าหลุมจังหวัด , หน่วยฯ น้ำตกบ่อทอง
คุย ประชาสัมพันธ์ ขอความเห็นใจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ (ยึดหลักทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากร จึงมีสิทธิ์ใช้ทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน) บางกลุ่มก็เข้าใจดีให้ความร่วมมืออย่างดี บางกลุ่มก็เข้าใจดี เข้าใจทุกอย่าง พอพ้นไปได้ไม่ไกลก็เหยียบกระโจนๆ เสียงดังสนั่นหวั่นไหว จึงเกิดมาตรการที่ 2 ตามมา
จำกัดจำนวนรถยนต์ ให้เข้าพื้นที่ได้ครั้งละ 2 คัน ถ้ามาหลายคันก็ถ่ายไปขึ้นท้ายกระบะ กลุ่มที่เข้าใจก็เข้าใจเหมือนเดิม กลุ่มมึนใช้วิธีเข้ามาทีละ 2 คัน ทิ้งช่วงห่าง 30 นาที แล้วมาอีก 2 คัน จนครบขบวน แล้วทำเป็นไม่รู้จักกันอีกต่างหาก พอเข้าพื้นที่ได้สนิทกันปานรู้จักกันมาสิบๆ ปี บางกลุ่มก็อ้างว่าเดินทางมาเพื่อบริจาคยาให้เจ้าหน้าที่เพราะสงสารในความยากลำบากของการดูแลป่า ฯลฯ ประมาณว่ามาทำงานเพื่อสังคม (ยาที่ให้เป็นแบบยาพาราเซตามอลกระปุกละ 150 บาท มาแบ่งใส่ซองเล็กๆ ซัก 10 20 เม็ด สำลีก็เอามาตัดใส่ซองพลาสติก ฯลฯ) เราก็ขอขอบคุณในน้ำใจท่าน แต่ยืนยันให้เข้าแค่ 2 คัน และยังมีอีกสารพัดวิธี จึงต้องมีมาตรการขั้นต่อมา
เริ่มใช้อำนาจในการอนุญาต และไม่อนุญาต ทำให้การขอเข้าพื้นที่ยากขึ้น กลุ่มออฟโรดจอมลุยก็เริ่มลดลง (แต่ละกลุ่มจะรู้จักกันก็จะบอกต่อๆ กัน) ในระยะหลังก็หายไป คงจะรอคุณหัวหน้าหน่วยฯ ย้ายไปก่อน
เสนอหัวหน้าเขตฯ ซ่อมเส้นทางอย่างถาวร เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน โดยใช้หินเกล็ดถมถนนให้เป็นหลังเต่าน้ำจะได้ไหลออกไม่ขังบนเส้นทาง ที่เลือกใช้หินเกล็ดเนื่องจากในระยะยาวหินชนิดนี้จะเกิดผลกระทบกับนิเวศโดยรอบน้อยเมื่อเทียบกับลูกรัง เพราะตะกอนที่ไหลออกไปสู่แหล่งน้ำ ลำห้วย ลำธาร เวลาฝนตกจะน้อยกว่ามาก เริ่มเสนอ ปี 2544 (รายละเอียด) กว่าจะได้เส้นทางในปัจจุบันนั้น แล้วทำไมกลายเป็นลูกรัง ต้องติดตามตอนต่อไปค่ะ
** อันที่จริง มีรูปด้วย เขียนใส่แผ่นซีดีไว้ แต่แผ่นเสีย กำลังหาวิธีกู้คืนอยู่ ไม่รู้ทำได้หรือเปล่า ถ้าได้จะนำมาให้ชมทีหลังนะค่ะ**
โดย แม่ขมิ้น
(ไปเจอมาจากเวปวีคเอ็นครับ)
|
|