-=-=-=-=-=-=- กลับหน้าหลักเวบบอร์ด ของ www.4x4.in.th -=-=-=-=-=-=-

   SocialTwist Tell-a-Friend



 ATOMY
 Posted : 28 / 10 / 2010, 00:31:38
 สำหรับผู้ดูแลหรือเจ้าของบอร์ดเท่านั้น สำหรับผู้ดูแลหรือเจ้าของบอร์ดเท่านั้น

LIKE

มีข้อความ
__  __

ช่วยชี้แนะ เทคนิค ข้อควรระวัง ในการขับรถลุยน้ำ และวิธีการตรวจเช็คหลังจากลุยน้ำครับ
ช่วงนี้หลายๆจังหวัดประสบกับอุทกภัยครั้งใหญ่ รวมทั้งที่บ้านแฟนผมด้วย ดังนั้นช่วงนี้เจ้าตู้ปลาของผมจึงรับบทเป็นพระเอก คอยรับส่งอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งที่จำเป็นอื่น ไม่เฉพาะที่บ้านเท่านั้น แต่ยังเป็นพระเอกระดับตำบล เพราะต้องรับส่งอาหาร น้ำดื่มของผู้คนในหมู่บ้านและรายทาง เข้าสู่พื้นที่น้ำท่วม
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องลุยน้ำบ่อยๆ จึงอยากทราบเทคนิคในการขับลุยน้ำ และ การตรวจเช็คหลังจากลุยน้ำด้วยครับ เพราะช่วงนี้จำเป็นต้องช่วยเหลือผู้ประสบภัยจริงๆ ไม่อยากให้เป็นอะไร
( หลังจากที่โดนแซวมาตลอดว่า นั่งก็ไม่สบาย สูงขึ้นลำบาก ความสวย และความสะดวกสบายก็ไม่มี แต่หลังจากน้ำท่วมใครๆก็อยากจะนั้งกันทั้งนั้น อิอิ)

ปล. หลังจากลุยน้ำมาหลายวันชักมีอาการ เลี้ยวไม่ค่อยลื่นเหมือนเมื่อก่อน เบรคแข็ง และ เครื่องยนต์สะดุดบ้างเป็นบางจังหวะ ไม่แน่ใจว่าเป็นผลกระทบจากการลุยน้ำมาหลายวันหรือป่าวครับ



 

ชอบ 0
ชอบ ข้อความ : L I K E
เลิกชอบ ข้อความ : U N L I K E
Board : vision12
IP 180.180.13.148  

   ซูเมืองดอกบัว
 Posted : 28 / 10 / 2010, 06:15:13
สำหรับผู้ดูแลหรือเจ้าของบอร์ดเท่านั้น สำหรับผู้ดูแลหรือเจ้าของบอร์ดเท่านั้น

LIKE


 จำนวนถาม :
 จำนวนตอบ :
 รวมทั้งหมด : 0


มีข้อความ
__  __

ข้อความเลขที่ : 1
ของเหลวทั้งหมดครับที่ต้องถ่าย น้ำมันเกียร์หลัก สโลว์ เฟืองท้ายหน้าหลัง สายหัวเทียน ดูจานจ่ายว่ามีความชื้นมั๊ย ลูกปืนล้อ หน้าหลัง เอามาล้างอัดจารบีใหม่ ซีลล้อจะดีแค่ไหน ขับลงน้ำทั้งวัน น้ำเข้าแน่นอนครับ
เทคนิคลงน้ำผมไม่ เท่าไหร่ แต่เวลาขับในน้ำอย่าเร่งเครื่องแรง ค่อยๆเดินเครื่อง แต่ถ้าคิดว่าน้ำลึกๆ จะขับให้พ้นและกลัวดับ เร่งเครื่องรอบสูงๆไว้ ห้ามเปลี่ยนเกียร์ รถผมไม่มีท่อหายใจหรือสน๊อคเกิลแต่ผมเคยทำคือเอาผ้าใบมาบังกระจังหน้ารถไว้ได้ผลดีครับ เวลาลุยน้ำกระเพื่อมถึงฝากระโปรงเลย (ที่ทำงานผมน้ำท่วมทุกปีครับ อิอิ)
รอกูรูอีกดูหน่อยครับ เผื่อได้ข้อมูลเพิ่ม

 



ชอบ 0
ชอบ ข้อความ : L I K E
เลิกชอบ ข้อความ : U N L I K E
Board : vision12
IP 118.172.15.245  
กลับขึ้นด้านบน

  วิหคเหิร
 Posted : 28 / 10 / 2010, 09:14:55
สำหรับผู้ดูแลหรือเจ้าของบอร์ดเท่านั้น สำหรับผู้ดูแลหรือเจ้าของบอร์ดเท่านั้น

LIKE


 จำนวนถาม :
 จำนวนตอบ :
 รวมทั้งหมด : 0

มีข้อความ
__  __

ข้อความเลขที่ : 2
การขับรถข้ามน้ำ
การนำรถข้ามน้ำทำได้หลายวิธี แล้วแต่สภาพพื้นที่ที่ต้องการจะข้าม
หลักการข้ามน้ำทั่วไปในเส้นทางที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย เราจะต้องลงไปสำรวจร่องน้ำเสียก่อนว่ามีความลึกส่วนใดบ้างที่รถวิ่งผ่านได้ มีหินใต้น้ำ หลุมใต้น้ำ และหาทางสำรวจไว้สำหรับรถคันต่อไปด้วย

เนื่องจากรถคันแรกอาจจะตะกุยพื้นใต้น้ำเป็นร่องลึกรถคันต่อไปควรจะเปลี่ยนเส้นทางไปทางอื่นบ้าง และที่สำคัญคือกระแสน้ำไหลแรงหรือไม่ ถ้าน้ำแรงมากขนาดคนเดินข้ามไม่ได้อย่าเสี่ยงดีกว่า ให้หาวิธีอื่น

สภาพร่องน้ำทั่วไปจะเป็นหินกรวด ทราย และดินดานแข็ง รถวิ่งได้ แต่ในทางพื้นที่ที่เป็นท้องน้ำไม่เคยมีรถวิ่งผ่านมาก่อน และเป็นทรายควรลงไปสำรวจความแน่นของท้องน้ำด้วย ส่วนที่เป็นท้องน้ำพื้นจะแข็ง ในส่วนที่ไม่ใช่ร่องน้ำทรายจะไม่แน่น ต้องใช้วิธี Winch ข้ามน้ำอย่างเดียวเท่านั้น

หลักการขับรถข้ามน้ำ
1. ลงเดินสำรวจร่องน้ำ
2. ประมาณความแรงของกระแสน้ำว่ารถข้ามได้หรือไม่ คนเดินข้ามได้ รถข้ามได้
3. ดูทิศทางที่รถจะขึ้นฝั่ง ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้กระแสน้ำช่วยส่งรถขึ้นฝั่ง
4. ถ้าตลิ่งฝั่งตรงข้ามเป็นโคลนต้องเตรียมการใช้ Winch ช่วย ก็ให้หาต้นไม้ไว้ก่อนได้เลย
5. Jeep Cherokee มีระบบไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องอยู่มาก เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ให้ปิดระบบ Air Con, และระบบไฟฟ้าทั้งหมดในรถ เปิดกระจก
6. ขับรถลงน้ำอย่างช้าๆ ไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าไปในห้องเครื่อง ใช้เกียร์ต่ำในการขับรถ
7. ขับรถในน้ำช้าๆ เพื่อไม่ให้เกิดคลื่นหน้ารถบังทัศนวิสัยด้านหน้า และไม่ให้น้ำกระเด็นขึ้นกระจกหน้ารถ
8. ก่อนขึ้นฝั่ง ถ้ามีจังหวะเร่งเครื่องยนต์ให้เร่งเครื่องยนต์ส่งรถขึ้นฝั่ง เพื่อป้องกันรถติดดินและริมตลิ่ง
9. เมื่อขึ้นจากน้ำได้แล้ว ขณะรถวิ่งควรเบรกเป็นระยะๆ เพื่อทำให้เบรกแห้ง
10. หลังจากผ่านน้ำมาได้แล้ว เสียงเครื่องยนต์ผิดปกติ ให้สำรวจว่าน้ำเข้าห้องเกียร์ ห้องเครื่อง เฟืองท้าย เฟืองหน้าหรือไม่

ทันทีที่รถจะต้องลุยน้ำต้องมีการศึกษาเส้นทาง และบทบาทของเนวิเกเตอร์จะโดดเด่นขึ้นมาทันที เขาต้องรู้หน้าที่ตัวเองโดยลงน้ำตรวจสอบเส้นทางก่อนว่า ระดับน้ำแต่ละจุดที่ล้อรถจะสัมผัสนั้นลึกแค่ไหน ลักษณะพื้นใต้น้ำเป็น ทราย โคลน หรือเป็นก่อนหิน มีมุมต้องขับไต่อย่างไร ถ้าเกิดขับพลาดทำให้กระแทกส่วนไหนของรถก่อให้เกิดความเสียหาย ต้องตรวจสอบให้ดี และควรพิจารณาตลิ่งฝั่ง ตรงข้ามด้วยว่าลาด ชันแค่ไหน เพราะในขณะขึ้นตลิ่งหากลื่นหรือชันมากจนรถขึ้นไม่ได้แล้ว จะต้องกำหนดจุดคล้องสายสลิงเพื่อ ลากรถให้เรียบร้อยไปเลย

กำหนดจุดที่ล้อรถจะผ่าน

เมื่อตรวจสอบเส้นทางเรียบร้อยแล้วควรกำหนดจุดที่ล้อรถผ่าน หากน้ำไม่ลึกมากควรใช้โขดหิน ใต่น้ำกำหนดได้ แต่ถ้าน้ำลึกก็อาจจะกำหนดจุดภูมิประเทศฝั่งตรงข้ามเป็นจุดสังเกต การลุยลำธารไปใน ระยะไกลควรให้เนว์ฯ หรือผู้ร่วมทางคนอื่นไปยืนหˆางจากรถพอสมควร และค่อยๆ บอกจุดให้รถ เคลื่อนที่โดยเอาตัวผู้บอกทางเป็นเป้าหมายที่ล้อหน้าขับและเคลื่อนที่ไปอย่างช้าๆ แต่ทั้งนี้แผนการ ทั้งหมดจะต้องอธิบายหรือกำหนดร่วมกันกับผู้ขับทุกครั้ง โดยที่ทุกคนต้องเข้าใจเหมือนกัน

ความลึกของน้ำบ่งบอกสัญญาณว่าต้องเตรียมตัวขนาดไหน

หลังจากตรวจสอบเส้นทาง ระดับน้ำ พร้อมกับกำหนดจุดที่รถผ่านแล้ว ก็มาถึงเรื่องของการเตรียม ความพร้อมของรถมาเป็นอันดับต่อไป ก่อนอื่นแต่ละคนจะต้องรู้จักรถของตัวเองว่าเครื่องยนต์เป็นแบบใด หากเป็น เครื่องดีเซล ก็ต้องตรวจสอบว่าระดับน้ำสูงถึงไส้กรองอากาศหรือไม้ ถ้าน้ำลึกเลยระดับ หม้อกรองอากาศ แต่ถ้าพื้นล่างแข็งพอที่ล่อจับได้ก็น่าที่จะดับเครื่องและใช้วินช์ตัวเอง หรือขอแรงรถพรรคพวกฉุดข้ามน้ำจะปลอดภัยกว่า แต่ถ้าเครื่องดีเซลมี สนอร์เกิ้ล ติดมาพร้อมก็ค่อย ยังชั่ว ควรตรวจสอบดูว่าตรงข้อต่อ ของท่อที่เชื่อมกับหม้อกรองอากาศน้ำไม่รั่วเข้าไปแน่ พร้อมกับเอา ผ้ากาวป"ดรูหายใจที่ก้นหม้อกรองอากาศด้วย เพราะในกรณีแช่น้ำนานๆ น้ำอาจรั่วเข้าไปได้

ตรวจสอบใบพัดหม้อน้ำ

ใบพัดหม้อน้ำสำคัญมากหากลุยน้ำลึกๆ ในกรณีกระแสน้ำเชี่ยวกรากอาจจะทำให้เกิดแรงกระชาก ทำให้ใบพัดหักไปถูกหม้อน้ำรั่วได้ บางคนอาจจะท้วงติงว่าถ้าระบบใบพัดนั้นเป็นระบบฟรี ก็สามารถป้องกันได้แล้ว เรื่องนี้มีผู้ชำนาญเล่าให้ผมฟังมานานแล้วว่า สมัยก่อนที่เที่ยวแถบเขื่อนเขาแหลม โดยนำรถข‰ามลำธารใหญ่ซึ่งน้ำเชี่ยวอยู่ระดับอกแถวหมู่บ้านกะเหรี่ยงชิเด่งเฉ่ง ตอนนั้นใช้โตโยต้า คานแข็งทั้งๆ ที่ใบพัดฟรีได้ แต่ก็ทนแรงต้านจากน้ำไม่ไหว เกิดฉีกขาดไปเสียบทะลุหม้อน้ำ แต่เรื่องนี้ "พี่อ๊อด" แนะวิธีแก้มาว่า "ถ้าเจอน้ำลึกๆ ก็เอาผ้าหนาๆ หรือกระสอบผูกด้านหน้าของ หม้อน้ำ เพื่อลดแรงต้านของน้ำ ให้ถึงพัดลมน้อยที่สุด หรือให้ชัวร์ ก็ถอดสายพานพัดลมออกมาเลย คลายนอต 2-3 ตัวเท่านั้น แต่มั่นใจได้เลยว่าลึกลุยยาวอย่างไรใบพัดไม่ขาดหรือพลิ้วตำ หม้อน้ำอย่างแน่นอน"

ถ้าเป็นรถเบนซินล่ะจะทำอย่างไร?

ในกรณีเป็นเครื่องเบนซิน จะต้องลุยน้ำลึกๆ แล้วล่ะก็ ความปลอดภัยจะมากกว่าเครื่อง ดีเซล เพราะถ้าหากน้ำเข้าเครื่องดีเซลตามท่อไอเสียจะทำให้เครื่องดับ หากเป"นมือใหม่ยังไม่มีประสบการณ์ก็จะพยายามที่จะสตาร์ท ให้เครื่องติดอีกรับรองพังแน่ๆ หากทำการซ่อมถ้าไม่ใช่ช่างเครื่องหรือเคยมีประสบการณ์มาก่อน ขั้นตอนแรกให้ ถอดปั๊มต่างๆ มาไล่น้ำกันก่อนเพื่อให้น้ำที่ตกค้างตามท่อออกให้หมด จึงจะสตาร์ทเครื่องยนต์ได้

สำหรับเครื่องเบนซินที่ติด สนอร์เกิ้ล เมื่อเจอสถานการณ์ที่ดุเดือดแล้ว บอกได้ว่าสนอร์เกิ้ล นั้นกันน้ำไม่ให้เข้าทางหม้อกรองอากาศแล้วไหลเข้าเครื่องได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้กันเครื่องยนต์ดับเพราะน้ำจะเข้าจานจ่าย รถหลายๆ รุ่นออกแบบจานจ่ายไว้ด้านหลังของเครื่องแถมอยู่บนสุดซะด้วย เรื่องนี้ หากรอดไปได้ก็ดีไป แต่ถ้าเครื่องยนต์ดับก็อย่าตื่นเต้นนัก ตอนแรกให้ตรวจสอบน้ำในจานจ่ายเสียก่อน ถ้ามีน้ำให้เช็ดให้แห้งแล้วเอาน้ำยาสารพัดประโยชน์ (กันชื้น)ฉีดเข้าไป ตรวจสอบตามปลั๊กหัวเทียน เช็ดให้แห้ง แล้วลองสตาร์ทเครื่องยนต์ดู ถ้าไม่ติดก็ถอดคาร์บูเรเตอร์ล้างเช็ดให้แห้ง ไม่นานก็วิ่งได้ปร‹อเหมือนเดิม แต่ในกรณีที่หัวฉีดเป็นตัวจ่ายน้ำมันล่ะก็เป็นเรื่องที่จะต้องระวัง ไม่ให้น้ำเข้าหม้อกรองอากาศได้เลย เพราะถ้าเข้าไส้กรองเครื่องยนต์จะเดินไม่เรียบ กำลังเครื่องก็ตกมาก กล่องดวงใจคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมระบบทั้งหมดต้องแน่ใจว่าน้ำไม่เข้าแน่ เพราะถ้าน้ำเข้าได้ก็แขวนนวม กันไปเลยพี่ !!

สลิงเกี่ยวไว้เพื่อความชัวร์

การข้ามน้ำในสถานการณ์ที่น้ำลึกไหลเชี่ยวกรากแล้วละก็ รับรองได้ว่ารถต้องเกิด อาการไหลตามกระแสน้ำแน่นอน เรื่องนี้มีทางแก้ไขโดยใช้สลิงของพรรคพวกที่ไปด้วยกันเกาะท้ายเอาไว้ก่อน ค่อยๆ โรยไปตามรถ เมื่อเกิดอาการน้ำพัดหรือรถลงลึกเมื่อไรก็สามารถฉุดรั้งเอาไว้ได้ แต่ระวังอย่าให้พวกมือบอนมาถอดขอเกี่ยวสลิง เดี๋ยวจะเหมือน "ช้างเพชร" ที่โดนพรรคพวกแหย่แรงเกินไป แอบปลดสลิงออกก่อนลุยน้ำลึกที่มาเลเซีย เล่นเอารถจมน้ำพังเสียหายไปตามๆ กัน

ท่อหายใจเฟืองหน้าและหลัง

ตามปกติขณะลุยน้ำลึกๆ แล้วรถไม่ได้แช่น้ำนานๆ ก็ไม่มีอะไรเสียหาย ในกรณีที่รถจะต้องแช่น้ำนานๆ ท่อระบายอากาศของเฟืองท้ายและเฟืองหน้าอาจทำพิษ น้ำรอดเข้าไปได้ เมื่อน้ำลงไปผสมกับน้ำมันเมื่อไรจะทำให้น้ำมันเสื่อมคุณภาพและเป็นอันตรายต่อเฟืองต่างๆ ได้ รายการนี้ "พี่มนตรี" จากนครสวรรค์ ต่อท่อหายใจให้ "เจ้าบูลด็อก" โดยเดินสายขึ้นมาไว้ข้างบนหลังโรลบาร์พร้อม กับมีลูกปืนล็อกกันน้ำมันไหลย้อนขึ้นมาและไหลลงไปได้ เป็นการป้องกันปัญหาได้อย่างดีที่สุด

ไล่คนโดยสารออกไปพร้อมเปิดกระจก

กรณีที่ลุยน้ำลึกๆ ควรจะให้ผู้โดยสารในรถออกไปช่วยบอกทางดีกว่า เพราะถ้าแออัด อยู่ในรถหากรถเกิดพลิกคว่ำหรือไหลไปตามกระแสน้ำ โอกาสที่จะเจ็บตัวหรือตายน่ะมีมาก ดังนั้นผู้โดยสาร ควรออกมาอยู่นอกรถ ถ้าเป็น 4WD ก็กระโดดไปช่วยขย่มอยู่หลังกระบะยังดีกว่า พร้อมกันนั้นกระจก ทุกบานจะต้องเปิดออกเพื่อให้ผู้ขับได้ฟังเสียงของเนว์ฯ คอยบอกทางได้อย่างชัดเจนและสะดวก ในการเอาตัวรอดได้ในกรณีฉุกเฉิน และการแก้ไขรถที่เบาลอยน้ำนั้นอาจจะทำได้โดยเปิดประตูรถ ให้น้ำเข้ามาพอสมควรให้รถหนัก ไม่ลอย เพื่อให้ล้อรถจับกับพื้นกรวดพื้นทรายได้

ตรวจสอบน้ำมันทุกชนิดหลังรอดจากลุยน้ำ

ทุกครั้งที่ลงน้ำลึกๆ เมื่อขึ้นฝั่งได้ควรตรวจสอบระบบน้ำมันหล่อลื่นว่าน้ำเข้าหรือเปล่า เพียงง่ายๆ สังเกตจากไม้วัดตรวจระดับน้ำมันเครื่อง ถ้าน้ำมันที่วัดออกมามีสีเหมือนน้ำข้าวแล้วละก็ รีบจัดการ เปลี่ยนถ่ายได้เลย และเมื่อมีโอกาสควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นทั้งหมด พร้อมกับอัดจาระบี ลูกป-นล้อให้เรียบร้อยด้วย วิทยุสื่อสารต้องติดหนีน้ำ

การสื่อสารในระหว่างการเดินทางที่สะดวกที่สุดก็คือวิทยุรับ-ส่ง F.M. ในคลื่น VHF ที่มักจะติดอยู่ในรถแต่ละคัน จากประสบการณ์ของ "น้านู" เกษม ลมัยกุล ที่ติดวิทยุไว้ระดับคอนโซลในรถ เมื่อลุยน้ำลึกๆ น้ำเข้ามาในรถทำให้วิทยุเกิดอาการลัดวงจร ช็อตพังไปหมด จากบทเรียนครั้งนั้นทำให้ "น้านู" ต้องย้ายวิทยุไปติดอยู่บนเพดานใกล้กับกระจกมองหลัง ทำให้สบายใจได้ขึ้นมาก ในขณะนี้ประสบการณ์ สอนทำให้รถที่ลุยอย่างแท้จริงก็มักติดในตำแหน่งสูงๆ ทั้งนั้น

เอาล่ะครับเพียงเท่านี้ก็เพียงพอในการลุยน้ำให้รอดได้เพราะอาศัยจากประสบการณ์ลุยน้ำท่องเลน มานานพอสมควร จะเห็นว่าจุดหลักของการเตรียมตัวก็อยู่ตรงนี้ ส่วนใครคิดว่าจะไปพลิกแพลง ตามสถานการณ์ก็แล้วแต่ความสามารถของแต่ละบุคคลไม่ว่ากัน หากท่านใดมีวิธีแก้ไขปัญหา ฉุกเฉินได้อย่างดีและแปลกประทับใจแล้วละก็ ช่วยแนะนำหรือเขียนมาบอกกันเพื่อเป็นวิทยาทานให้กับ บรรดาพรรคพวกนักลุยน้ำทั้งเก่าและใหม่ด้วยเถอะครับ จะขอคารวะสักหนึ่งจอกหรือหลายๆ จอกก็ได้ครับ !!!

การขับรถข้ามน้ำ ทำได้หลายวิธี ตามระดับความลึกและความแรงของกระแสน้ำ ฯลฯ เช่น
1. ขับรถข้ามน้ำที่ไม่ลึกมาก ความลึกไม่เกิน 70 ซม. ,/br> 2. ขับรถข้ามน้ำที่มีความลึก 1 เมตร
3. ขับรถข้ามน้ำที่มีความลึก 1.20 เมตร
ถ้าจะพูดถึงวิธีการต่างๆ ให้ละเอียดมากกว่านี้คงจะไม่พอเขียน เนื่องจากมีรายละเอียดมาก ขอพูดคุยเพียงเท่านี้ก่อน สิ่งสำคัญควรฉีดน้ำยาครอบจักรวาล Sonex ในห้องเครื่องให้ทั่วก่อนลงน้ำ,


 


ชอบ 0
ชอบ ข้อความ : L I K E
เลิกชอบ ข้อความ : U N L I K E
Board : vision12
IP 61.19.51.101  
กลับขึ้นด้านบน

   theproducer
 Posted : 28 / 10 / 2010, 09:30:15
สำหรับผู้ดูแลหรือเจ้าของบอร์ดเท่านั้น สำหรับผู้ดูแลหรือเจ้าของบอร์ดเท่านั้น

LIKE


 จำนวนถาม :
 จำนวนตอบ :
 รวมทั้งหมด : 0


มีข้อความ
__  __

ข้อความเลขที่ : 3
ตามนั้นครับผม ^_^

 



ชอบ 0
ชอบ ข้อความ : L I K E
เลิกชอบ ข้อความ : U N L I K E
Board : vision12
IP 58.11.93.162  
กลับขึ้นด้านบน

  น้ำโสมอุดรฯ
 Posted : 28 / 10 / 2010, 11:05:48
สำหรับผู้ดูแลหรือเจ้าของบอร์ดเท่านั้น สำหรับผู้ดูแลหรือเจ้าของบอร์ดเท่านั้น

LIKE


 จำนวนถาม :
 จำนวนตอบ :
 รวมทั้งหมด : 0

มีข้อความ
__  __

ข้อความเลขที่ : 4
ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้วครับ ขอบคุณ ที่แบ่งปัน

 


ชอบ 0
ชอบ ข้อความ : L I K E
เลิกชอบ ข้อความ : U N L I K E
Board : vision12
IP 180.180.169.21  
กลับขึ้นด้านบน

  Atomy
 Posted : 28 / 10 / 2010, 20:21:41
สำหรับผู้ดูแลหรือเจ้าของบอร์ดเท่านั้น สำหรับผู้ดูแลหรือเจ้าของบอร์ดเท่านั้น

LIKE


 จำนวนถาม :
 จำนวนตอบ :
 รวมทั้งหมด : 0

มีข้อความ
__  __

ข้อความเลขที่ : 5
อ่านเพลิน แถมได้ความรู้เยอะเลย ขอบคุณมากๆครับ

 


ชอบ 0
ชอบ ข้อความ : L I K E
เลิกชอบ ข้อความ : U N L I K E
Board : vision12
IP 125.26.30.75  
กลับขึ้นด้านบน

Page :    1

[ ปิดหน้าเพจ ]

ย้ายเวบบอร์ดไป VISION13 แล้ว




© Copyright 2000 - 2012 Allrights reserved.
Powered by www.suzuki4x4.net ™ Version 2.2.1 ®
 www.4x4.in.th