จำนวนถาม : จำนวนตอบ : รวมทั้งหมด : 0 มีข้อความ |
|
ข้อความเลขที่ : 3 1.สมาพันธ์นี้มีชื่อว่า "สมาพันธ์ออฟโรดแห่งประเทศไทย" ใช้อักษรย่อว่า "ส.อ.ม.ท." เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า "OFF ROADERS FEDERATION OF THAILAND" ใช้อักษรย่อว่า "O.F.T."
2.เครื่องหมายสมาพันธ์มีชื่อของสมาพันธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รถขับเคลื่อน 4 ล้อ และธงชาติไทยภายในวงกลมดังภาพ
3.สำนักงานใหญ่ของสมาพันธ์ตั้งอยู่ ณ อาคารเลขที่ 4/299 หมู่ 5 ซ.ลาดปลาเค้า 66 ถ.ลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ บางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทร.522-1731-8
4.วัตถุประสงค์ของสมาพันธ์เพื่อ
4.1 สนับสนุนการก่อตั้งสถาบันผู้ใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
4.2 ร่วมกับองค์กรอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนในกิจกรรมอันเป็นสาธารณประโยชน์ ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่น
4.3 ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิอความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ใช้ยานพาหนะทุกประเภทโดยทั่วไป
4.4 ผดุงไว้ซึ่งมาตรฐานอันดีงามในการปฏิบัติ และบำเพ็ญตนให้เป็นไปตามจรรยาบรรณแห่งผู้ใช้ยานพาหนะ โดยการคำนึงถึงประโยชน์ของสาธารณะชนเป็นหลัก
4.5 เป็นสื่อกลางในการประสานงานและให้ความช่วยเหลือ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้กฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
4.6 เผยแพร่ข่าวสารกิจกรรมอันเป็นสาธารณะประโยชน์ของสมาชิกต่อสาธารณะชน
4.7 จัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสารของทางภาครัฐและเอกชน แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป
4.8 เป็นศูนย์กลางในการพบปะเพื่อส่งเสริมความสามัคคีการกีฬาบังเทิงและการสาธาณะกุศล
4.9 จัดให้มีสวัสดิการแก่สมาชิกและครอบครัว
4.10 ส่งเสริมการท่องเที่ยว ภายใต้หลักการ เพื่ออนุรักษ์และไม่ทำลาย ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวกับการเมืองไม่ว่าทางใดๆ
5. สมาชิกของสมาพันธ์ ได้แก่ สถาบันผู้ใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ เป็นต้นว่า สมาคม สโมสร ชมรม หรือกลุ่ม ที่จัดตั้งขึ้นในชุมชนของสถาบันนั้นๆ
6. การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ ให้กระทำได้โดยการยื่นใบสมัครตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด และโดยการแนะนำของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง พร้อมด้วยบัญชีรายชื่อสมาชิกของสถาบันนั้น ๆ ต่อเลขาธิการ เมื่อคณะกรรมการมีมติให้รับเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ให้ขึ้นทะเบียนสถาบันนั้นๆ เข้าเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ และแจ้งให้สถาบันนั้นๆ ทราบโดยเร็ว
7. สมาชิกต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงตามที่คณะกรรมการกำหนด
8. สมาชิกภาพของสมาพันธ์ย่อมเริ่มตั้งแต่วันชำระค่าลงทะเบียนและค่าบำรุง และสิ้นสุดลงเมื่อลาออก หรืองดชำระค่าบำรุง หรือคณะกรรมการให้ลบชื่อออกจากทะเบียน
9. สมาชิกมีสิทธิ์และหน้าที่ดังจะกล่าวดังต่อไปนี้
9.1 สิทธิ์ที่จะเข้าใช้สถานที่ของสมาพันธ์
9.2 สิทธิ์ที่จะเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของสมาพันธ์
9.3 สิทธิ์ที่จะได้รับสวัสดิการต่างๆ
9.4 สิทธิ์ที่จะได้เข้าประชุมและลงมติในที่ประชุม
9.5 สิทธิ์ในการเลือกตั้งหรือได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งเป็นกรรมการ
9.6 สิทธิ์ในการตรวจสอบการดำเนินการ เอกสาร บัญชี หรือทรัพย์สินของสมาพันธ์
9.7 สมาชิกต้องปฏิบัติตามระเบียบ และข้อบังคับของสมาพันธ์
9.8 สมาชิกต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการกิจการต่างๆ ของสมาพันธ์
9.9 สมาชิกต้องร่วมกิจกรรมที่สมาพันธ์จัดขึ้น
9.10 สมาชิกต้องดำรงตนและยึดถือจรรยาบรรณให้เป็นเกียรติและศักดิ์ศรีของสมาพันธ์
9.11 ต้องช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาพันธ์ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
10. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาพันธ์ อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 15 คน อย่างมากไม่เกิน 30 คน จากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่ของสมาพันธ์ และให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งเองเป็นประธานคนหนึ่ง รองประธาน 1 คน เลขาธิการ 1 คน เหรัญญิก 1 คน สำหรับตำแหน่งอื่นๆ ให้ประธานเป็นผู้แต่งตั้งผู้ที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามที่กำหนดเป็นต้นว่า ปฏิคม บรรณารักษ์ นายทะเบียน การประชาสัมพันธ์ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายสวัสดิการ หรือ กรรมการอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร และให้มีหน้าที่โดยสังเขปดังต่อไปนี้
10.1 ประธาน ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาพันธ์ เป็นผู้แทนสมาพันธ์ ในการติดต่อกับบุคคลภายนอก เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ และการประชุมใหญ่สามัญ
10.2 รองประธาน ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยประธานในการบริหารกิจกรรมสมาพันธ์ตามที่ได้รับมอบหมาย และทำหน้าที่แทนประธานเมื่อประธานไม่อยู่ หรือแทนการปฏิบัติหน้าที่ได้
10.3 เลขาธิการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาพันธ์ทั้งหมด เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของสมาพันธ์ ลงนามในหนังสือเอกสารทั้งที่เป็นเอกสารภายในสมาพันธ์ หรือเอกสารภายนอกตามที่ได้รับมอบหมายจากประธาน ตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่างๆ ของสมาพันธ์
10.4 เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมด เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย งบดุล จัดเก็บเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการเงินไว้เพื่อการตรวจสอบ
10.5 นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับสมิชกทั้งหมด ประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บค่าบำรุงจากสมาชิกของสมาพันธ์
10.6 ฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่รวบรวมเอกสารทางวิชาการ ดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพและความรู้แก่สมาชิกเพื่อการเผยแพร่แก่สาธารณะชน
10.7 บรรณรักษ์ มีหน้าที่จัดทำหนังสือ จัดสรรให้ได้มา ตลอดจนการดูแลรักษาสรรพหนังสือและห้องสมุด
10.8 ฝ่ายสวัสดิการ มีหน้าที่เผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ กิจกรรมของสมาพันธ์แก่สมาชิกและสาธารณะชน
11. คณะกรรมการของสมาพันธ์ดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี กรรมการที่พ้นฐานะอาจได้รับเลือกเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการได้อีก เว้นแต่ประธานคณะกรรมการจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 2 วาระไม่ได้ เมื่อที่ประชุมใหญ่เลือกตัวคณะกรรมการแล้ว ให้คณะกรรมการที่พ้นตำแหน่งส่งมอบและรับงานมอบให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ในระหว่างที่ยังมิได้จัดให้มีการประชุมใหม่เพื่อเลือกตั้ง คณะกรรมการบริหารแทนคณะกรรมการที่พ้นวาระ หรือในกรณีที่ยังมิได้ส่งมอบงานให้คณะกรรมการที่พ้นตำแหน่งบริหารสมาพันธ์ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้ส่มอบงานกันให้แล้วเสร็จ
12. ถ้าตำแหน่งกรรมการได้ว่างลงก่อนครบกำหนดวาระ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกที่เห็นว่าสมควรเข้าดำรงตำแหน่งที่ว่าง และให้ผู้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เท่าวาระของผู้ที่ตนแทน
13. กรรมการอาจพ้นตำแหน่ง นอกจากการออกตามวาระด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ
13.1 ลาออก
13.2 ขาดสมาชิกภาพ
13.3 ที่ประชุมมิมติให้พ้นจากตำแหน่ง
14.คณะกรรมการบริหารมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
14.1 ตั้งกฏระเบียบปฏิบัติต่างๆ
14.2 แต่งตั้งถอดถอนเจ้าหน้าที่
14.3 แต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาสมาพันธ์ อนุกรรมการเพื่อกระทำกิจการใดกิจการหนึ่ง
14.4 เรียกประชุมใหญ่สามัญ และประชุมวิสามัญ
14.5 บริหารกิจการของสมาพันธ์ให้เป็นไปตามวัตุประสงค์
14.6 รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งทรัพย์สินและการเงินของสมาพันธ์
14.7 เรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในกำหนด 30 วัน ในกรณีที่สมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ของสมาพันธ์ทั้งหมด เข้าชื่อร้องเรียนให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญ
14.8 จัดทำเอกสารหลักฐานต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สิน ตลอดจนการดำเนินกิจการต่างๆ ของสมาพันธืให้ถูกต้อง และสามารถตรวจสอบได้
14.9 จัดทำบันทึกการประชุมต่างๆ เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิกได้รับทราบและมีหน้าที่อื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
15. คณะกรรมการต้องประชุมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาพันธ์
16. การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีคณะกรรมการเข้าร่วมการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมดจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานเป็นผู้ชี้ขาด
17. ถ้าประธาน หรือรองประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการที่เข้าประชุมเลือกกันเองคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
18. การประชุมมี 2 ประเภท คือ
18.1ประชุมใหญ่สามัญ
18.2ประชุมใหญ่วิสามัญ
19. คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือน ................................ของทุกปี
20. การประชุมใหญ่วิสามัญอาจจัดให้มีขึ้นได้เมื่อคณะกรรมการเห็นสมควร หรือมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดร้องขอให้จัดประชุม
21. ให้เลขาธิการแจ้งกำหนดวันเวลา และสถานที่ประชขุมเป็นลายลักษณ์อักษรให้สมาชิกได้ทราบก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดประชุมไว้ ณ ที่ทำการสมาพันธ์ไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันนัดประชุม
22. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี อย่างน้อยจะต้องมีวาระการประชุมดังต่อไปนี้
22.1 แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
22.2 แถลงรายรับ รายจ่าย และแสดงบัญชีงบดุลให้สมาชิกรับรอง
22.3 เลือกตั้งคณะกรรมการแทนคณะกรรมการที่ครบวาระ
22.4 เลือกตั้งผู้สอบบัญชี
22.5 เรื่องอื่นๆ ถ้ามี
23. การประชุมใหญ่สามัญและการประชุมใหญ่วิสามัญ จะต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจะถือว่าครบองค์ประชุม ถ้ากำหนดเวลาประชุมยังมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม และขยายเวลาประชุมออกไปเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว ยังมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุมให้เลื่อนการประชุมคราวนั้น และนัดประชุมใหญ่อีกครั้วหนึ่งภายใน 45 วัน แต่ก็ต้องไม่น้อยกว่า 21 วัน นับตั้งแต่วันเลื่อนการประชุม ในการประชุมครั้งหลังนี้ มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมเท่าใดถือว่าครบองค์ประชุม เว้นแต่ในการประชุมวิสามัญที่สมาชิกร้องขอให้ประชุมวิสามัญ ถ้าสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุมไม่จำเป็นต้องเลื่อนการประชุมและให้ถือว่า การประชุมเป็นอันยกเลิก
24. การลงมติใดๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุม ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
25. ถ้าประธานสมาพันธ์ และรองประธานไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
26.การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของสมาพันธ์ให้นำฝากไว้ในธนาคารที่คณะกรรมการเห็นสมควร
27. การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาพันธ์ต้องมีลายมือชื่อของประธานหรือผู้ทำการแทน ลงนามร่วมกับเหรัญญิก หรือเลขาธิการ ปละประทับตราของสมาพันธ์
28. ให้ประธานมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาพันธ์ได้ไม่เกินห้าพันบาท การจ่ายเงินเกินกว่าห้าพันบาทจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิยได้ไม่เกินครั้งละ หนึ่งพันบาท
29. เหรัญญิก มีอำนาจเก็บรักษาเงินของสมาพันธ์ได้ไม่เกินสองพันบาท เช็คหรือเงินสดจะต้องนำฝากในบัญชีของสมาพันธ์ภายใน 5 วันทำการ นับตั้งแต่รับเงินหรือเช็คสั่งจ่ายเงิน
30. เหรัญญิก ต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย งบดุล ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ การรับจ่ายเงินทุกครั้ง ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อประธานหรือผู้ทำการแทน ร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ทำการแทนและประทับตราของสมาพันธ์
31.ผู้สอบบัญชี จะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาพันธ์ คณะกรรมการต้องให้ความร่วมมือในการตอบข้อซักถาม และแสดงเอกสารหลักฐานต่างๆ ของสมาพันธ์ตามที่ผู้สอบบัญชีต้องการ
32. ข้อบังคับของสมาพันธ์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยมิตที่ประชุมใหญ่ ซึ่งมีคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าประชุม
33. การเลือกสมาพันธ์จะกระทำโดยมติของที่ประชุมใหญ่ ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
34. เมื่อสมาพันธ์ต้องเลิกล้มไปไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ให้ทรัพย์สินของสมาพันธ์ตกเป็นของสถาบันที่เกี่ยวกับรถ ขับเคลื่อน 4 ล้อ หรืองค์กรการกุศลอื่นๆ ตามมติของที่ประชุมใหญ่
35. ในขณะที่เริ่มแรก ให้ผู้เริ่มการก่อตั้งสมาพันธ์ เป็นกรรมการบริหารของสมาพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังกำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ หากว่าจะได้ดำเนินการจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารต่อไปนี้ตามข้อบังคับและดำเนินการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่อไป
36. การใดมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ให้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการนั้นมาใช้บังคับอนุโลม
กฎข้อบังคับ ของสมาพันธ์ครับ
ลองดูครับ
|
|