จำนวนถาม : จำนวนตอบ : รวมทั้งหมด : 0 มีข้อความ |
|
ข้อความเลขที่ : 7
AGPS คืออะไร
ความเป็นมาของ AGPS
ความเป็นมาของ AGPS เกิดจาก ในการคำนวนตำแหน่ง ของอุปกรณ์ GPS นั้น จะต้องอาศัยข้อมูล 3 อย่าง ในการคำนวนหาตำแหน่งของเครื่องรับ GPS บนพื้นโลก
1. ข้อมูลวงโคจร
2. เวลาปัจจุบัน
3. ระยะเวลาในการเดินทางของสัญญาณ GPS จาก ดาวเทียมมาสู่เครื่องรับ GPS
อ่าน หลักการทำงาน GPS อย่างละเอียดได้ที่นี้
เนื่องจากได้มาซึ่งข้อมูลทั้ง 3 อย่างจากดาวเทียม GPS อย่างน้อย 3 ดวง จากสัญญาณ GPS ตรงๆ นั้น มีข้อจำกัดอยู่หลายประการณ์ เช่น
1. ใช้เวลานาน ในการหาตำแหน่ง: การรับสัญญาณ GPS ของอุปกรณ์รับ GPS จะสามารถ synchronize(เชื่อมต่อข้อมูล GPS) ได้สมบูรณ์ โดยเฉพาะ ข้อมูลวงโคจร ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญและมีขนาดใหญ่ การรับสัญญาณ GPS ครั้งแรก ประมาณ 30 วินาที ในกรณี ไม่มีการเคลื่อนที่ หากมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาก็จะใช้เวลามากกว่านั้นมาก
2. สัญญาณ GPS ที่มาถึงโลกอ่อนและถูกบดบังได้ง่าย : สัญญาณ GPS สามารถถูกบดบังได้ง่ายจากโลหะ ทำให้จำเป็นต้องให้อุปกรณ์ GPS เห็นท้องฟ้า คือต้องอยู่ในที่โล่งแจ้ง จึงจะสามารถรับสัญญาณ GPS ได้ดี ซึ่งหากอยู่ในที่มีการบดบัง เช่น เขตอาคารสูง ก็จะเกิดอาหาร Miltipath ซึ่งทำให้เกิดอาการกระโดดไปมาของการแสดงตำแหน่ง
3. สิ้นเปลืองพลังงาน: การที่จะให้ได้ตำแหน่งที่ต่อเนื่อง จำเป็นต้องเปิด Synchonize ดาวเทียมตลอดเวลา ซึ่งทำให้มีปัญหาพลังงานไม่เพียงพออยู่บ่อยครั้ง เพราะ Chipset GPS จะกินพลังงานอยู่ ที่ 80-20 mA ซึ่งถือว่ามากสำหรับ Battery ลูกเล็กๆ ของโทรศัพท์มือถือ
จากปัญหาดังกล่าว จึงมีการค้นคิดหาวิธีที่จะทำให้ GPS สามารถทำงานได้เร็วขึ้นและสิ้นเปลืองพลังงานน้อยลง ประกอบกับเทคโลยี ด้านการสื่อสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีความเร็วมากขึ้นและการมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาจาก GPS ทั่วไป มาเป็น A-GPS โดยหลักการ ในการแก้ปัญหาขั้นต้น ดังนี้
หลักการทำงานของ AGPS
A-GPS ย่อมาจาก Assisted GPS(จีพีเอสช่วยเหลือ) เป็นระบบ GPS (GPS ย่อมาจาก Global Positioning system คนละเรื่องกับ GPRS) ที่มีสนับสนุนข้อมูลที่ต้องการผ่านระบบ GPRS : General package radio service ซึ่งเป็นการบริการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงบนระบบโครงข่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่ แทน การรับข้อมูลต่างๆ ตรงจาก ดาวเทียม GPS ซึ่งใช้เวลานาน โดยมีหลักการดังนี้
1. สนับสนุน ข้อมูลวงโคจร และ เวลาปัจจุบัน ผ่านระบบ GPRS : โดยปกติ GPS ต้องรับ ข้อมูลวงโคจร และข้อมูลเวลาปัจจุบัน จากสัญญาณ GPS โดยตรง ซึ่งทำให้ช้า หลังจากการพัฒนาระบบ AGPS จึงเปลี่ยนการรับข้อมูลทั้งไป ผ่านโครงข่าย GPRS โดยเอาข้อมูลมาจาก GPS Base Station ซึ่งจะค่อยรับ ข้อมูลวงโคจร GPS และ เวลาปัจจุบัน จากดาวเทียม GPS โดยตรง ทำให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้เร็ว เพราะอุปกรณ์รับ GPS สามารถได้ข้อมูลทั้ง 2 จาก เครือข่าย GPRS ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเร็วกว่า สัญญาณ GPS มาก
2. รับ ข้อมูลตำแหน่ง คราวๆ จาก GPRS: นอกจากที่จะได้ข้อมูลที่จำเป็นในการหาตำแหน่งของเครื่องรับ GPS ผ่านเครือข่าย GPRS แล้ว ระบบ GPRS ยังส่งข้อมูลบอกต่ำแหน่งคราวๆ ให้เครื่องรับ GPS ได้อีกด้วย เพราะการอุปกรณ์รับสัญญาณ GPRS ได้นั้น จะต้องอยู่ในรัสมีทำการของ Cell phone Location หรือ Cell site โทรศัพท์ ซึ่งแต่ละ เสาส่ง Cell site โทรศัพท์ ก็จะมีตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นโลก ซึ่งเครื่อขาย GPRS ก็จะส่งค่าตำแหน่งของ เสาส่ง Cell site โทรศัพท์ มาให้ด้วย ทำให้อุปกรณ์รับ GPS สามารถรู้ตำแหน่งคราวๆ ของตัวเอง ก่อนที่จะรับสัญญาณ GPS ได้เสียงอีก ทำให้การประมวลผลหาตำแหน่งอย่างละเอียดทำได้เร็วขึ้นมาก
จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ AGPS สามารถทำงานได้เร็วกว่า GPS ทั่วไป 5-10 เท่า คือสามารถหาตำแหน่งได้ในเวลาไม่ถึง 3 วินาที
แต่ A-GPS ก็มีข้อจำกัด ดังนี้
1. ใช้บริการ A-GPS ไม่ใช่ของฟรี : หากต้องการจะใช้ความเร็วของ A-GPS ผู้ใช้อุปกรณ์รับ GPS (GPS receiver) ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ ก็จะต้องเปิดบริการ GPRS หรือ EDGE กับผู้ให้บริการโครงข่ายมือถือ เช่น AIS , true, DTAC ซึ่งก็ต้องเสียเงินทั้งนั้น
2. มีพื้นที่ให้บริการจำกัด : การให้บริการ AGPS ก็จะมีในเขตที่มีสัญญาณโทรศศัพท์มือถือเท่านั้น ดังนั้นหากคิดว่าจะซื้อโทรศัพท์มือถือ ที่มี AGPS จะมาเดินป่า ละก็ หมดสิทธิ์ ครับ เพราะมันก็จะกลายเป็น GPS ธรรมดาไป
|
|