X4 OFFROAD | Posted : 23 / 8 / 2011, 22:42:31 | |
|
จำนวนถาม : จำนวนตอบ : รวมทั้งหมด : 0 มีข้อความ |
|
ข้อความเลขที่ : 23
ปอนด์ๆ
Posted : 23 / 8 / 2011, 09:28:34
Web Moderator
ข้อความเลขที่ : 6
ขออนุญาติ เสริมซักนิดนะครับ พอดีได้ติดตามเรื่องนี้มาตลอด ตั้งแต่เหตุรอบแรก จนถึงครั้งล่าสุด และชอบผลงานสเปเซอร์นี้อยู่ ใจอยากจะใช้ตั้งแต่ที่มีออกขาย แต่ติดตรงที่ว่า ได้เห็นภาพการทดสอบ และหลักฐานการทดสอบต่างๆ ก็ดูน่าเชื่อถือ แต่ในใจก็ยังกลัวๆจึงยังไม่ตัดสินใจซื้อ
สาเหตุที่ยังกลัวๆไม่ตัดสินใจซื้อ ทั้งที่มีการทดสอบแล้ว
การทดสอบ โดยการกดลงที่ตัวสเปเซอร์โดยตรง มันก็สามารถบอกได้ถึงความแข็งแรงและการรับน้ำหนักของตัวสเปเซอร์ แต่ในการใช้งานจริงมันไม่ค่อยตรงกับการทดสอบซักเท่าไหร่ ซึ่งเวลาใช้งาน แรงกด แรงบิด หรือ แรงกระทำต่างๆ รวมไปถึงน้ำหนักรถ มันไปลงที่จุดยึดมากกว่าที่ตัว สเปเซอร์ เพราะสเปเซอร์ถูกยึดในแนวระนาบ แรงกระทำมาจากแนวดิ่ง ซึ่งผมคิดว่าการทดสอบดดยการกดลงที่ตัวสเปเซอร์แบบนั้นมันเหมาะกับการทดสอบก้อนรองแหนบเพิ่มความสูงเสียมากกว่าครับ
ดังนั้นเพื่อความสบายใจทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย อยากให้มีการทดสอบเพิ่มเติมเน้นในส่วนความแข็งแรงของ
จุดยึดมากกว่า
ตามภาพ ครับ
โดยการยึดสเปเซอร์ไว้กับดุมล้อ หรือ จะยึดกับฐานอะไรก้แล้วแต่ แล้วค่อยกดลงที่ตัวสเปเซอร์ตามลูกศรแดง กดจนกว่าน็อตจะขาด ว่าสามารถรับน้ำหนักได้มากที่สุดเท่าไหร่ (ถ้าเป็นไปได้มีเครื่องมือที่สามารถกดขณะที่หมุนเหมือนการใช้งานจริงจะยิ่งน่าเชื่อถือมากๆ) น่าจะเกิดความมั่นใจของผู้ซื้อได้มากกว่า
ตามภาพ ครับ
ต้องขออภัยเจ้าของผู้ผลิดด้วยนะครับ มิได้มีเจตนาใด กดดันหรือแอบแฝง เป็นเพียงข้อเสนอเท่านั้น
ข้อความเลขที่ : 10
ถูกต้องครับพี่ Daemon27 เพราะการทดสอบแรกเป็นการทดสอบความแข็งแรงของตัวสเปเซอร์
แต่ที่เสริมเข้าไปคือการทดสอบการใช้งานจริง ที่เกิดจากการรับน้ำหนัก แรงบิด ซึ่งแน่นอนว่าการรับน้ำหนักโดยการทดสอบแบบนี้คงต้องลดลงเป็นธรรมดาตามธรรมชาติ อยู่แล้ว
สมมุติว่า ทดสอบความแข็งแรงที่ตัวสเปเซอร์แล้ว สมมุติว่า เสียรูปจากแรงกดที่ 10 ตัน อันนี้เป็นการทดสอบความแข็งแรงของตัวสเปเซอร์ และเพิ่มเติมด้วยการทดสอบโดยการยึดตัวสเปเซอร์กับฐานเพื่อจำลองการใช้งานจริง แล้วกดลงตามภาพข้างต้น ทีนี้เราจะรู้ว่า รูน็อต จุดยึด สามารถทนแรงกระทำ แรงกดที่กี่ตัน สมมุติว่าเมื่อกดไปแล้ว 1 ตัน ยังไม่มีการเสียรูป ทั้งตัวสเปเซอร์ และน็อตยึดเท่ากับว่า สเปเซอร์นี้สามารถรับแรงกระทำได้ถึง 1 ตัน และมีกเพิ่มการกด ไปที่ 2 ตัน เริ่มมีการเสียรูป ไม่ว่าจะที่ตัวน็อตยึด หรือที่รูน็อตที่ตัวสเปเซอร์ เช่น เมื่อกดไป 2 ตันแล้ว ตัวสเปเซอร์ยังไม่เสียรูป แต่น็อตเริ่มยึด บิด หรือเริ่มขาด นั่นแปลว่า ตัวสเปเวอร์สามารถรับได้เพิ่มไปที่ 2 ตันโดยยังไม่มีการเสียรูป นั่นก็จะบอกได้ว่า ตัวสเปเซอร์มีความแข็งแรงเท่าไหร่ ในทางกลับกัน ถ้าที่ตัวสเปเซอร์ มีการเสียรูปที่รูยึดน็อต รูหรือจุดยึดอาจบาน บิดเบี้ยว หรือขยายออก ก่อนที่น็อตจะขาด นั่นก็จะสามารถบอกได้อีกเช่นกันว่า ตัวสเปเซอร์มีความแข็งแรงในการใช้งานจริงได้มากน้อยเพียงใด และที่สำคัญต้องทดสอบกดจนขาดออกจากกันระหว่างสเปเซอร์กับดุมล้อ ถ้าเปรียบเทียบความเป็นจริงในการใช้งานนั่นหมายความว่า ล้อที่ใส่สเปเซอร์ได้หลุดออกมาจากกันแล้ว
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การใส่สเปเซอร์จะทำให้ล้อหลุด แต่การทดสอบนี้เราจะไปดูที่แรงกดทับหรือแรงกระทำ ว่ารับได้ถึงกี่ตัน
ขอบคุณครับ คุณ ปอนด์ ที่ ให้ข้อเสนอแนะที่ มีประโยชน์ ครับ
เป็นความคิดที่ดี ครับ เพราะ ข้อเสนอแนะที่ว่ามา มันตรงกับ การใช้งานจริงๆ
ก่อนอื่นต้อง ต้องอธิบายให้รับทราบว่า เหตุผลในการนำชิ้นงาน ไปทดสอบ ก็คือ
เพื่อทดสอบ เกรดอลูมิเนียมที่เลือกใช้ ว่า มันแข็งแรง และ เหมาะกับที่จะนำมาทำ
spacer หรือ ไม่ (ทั้งที่รู้แล้วว่า เกรดนี้ 6061-T6 ในต่างประเทศ ก็ใช้กันอย่างแพร่เหลาย)
แต่ก็อยากทดสอบ เพื่อความมั่นใจของ ผู้บริโภค และ ผล ออกมาก็ ถือว่า เหมาะที่จะนำมา
ใช้ทำ ผลิตภัณฑ์ spacer
สิ่งที่คุณ ปอนด์ นำเสนอมา ผมไม่ได้ นิ่งนอนใจ ครับ ได้ โทรไปสอบถาม
เจ้าหน้าที่ ที่ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ที่ผมได้เคยนำชิ้นงานไปทดสอบ
ได้อธิบาย รูปแบบ ตาม โมเดล ที่คุณ ปอนด์ แนะนำ ว่า สามารถทำได้หรือ ไม่
เจ้าหน้าที่ นักวิชาการ ท่านก็ ได้ให้ ความเห็นมาว่า จริงๆ ทางสถาบัน รับทดสอบในส่วนของการ
ทดสอบ ผลิตภัณฑ์ ที่เป็นโลหะ ชนิดต่างๆ ตามที่ลูกค้า นำชิ้นงานมาให้ ในที่นี่ เราทดสอบ
ด้วย เครื่อง Compression Test ก็คือ แรงกระทำต่อวัตถุ ที่เป็นชิ้นงาน ที่เครื่องสามารถทดสอบได้
ถ้าตามที่ คุณปอนด์ แนะนำมา มันคงต้อง สร้าง ชิ้นงาน มีฐานยึดที่มั่นคง
เพื่อจับ เจ้าดุมล้อ เพื่อยึด spacer หรือไม่ก็ต้องสร้าง รูปแบบ โมเดล ตามที่คุณปอนด์
แนะนำ ให้เหมือนสภาพเป็นจริงๆ แต่
ในทาง ปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ได้ให้ความเห็นว่า ตามรูปแบบข้างต้น ถ้าเกิดแรง ไปกระทำ แนวดิ่ง
ที่ตัว spacer เครื่องที่ทำการทดสอบ มีแรงกระทำที่ มหาศาล เครื่องที่ทำการทดสอบ สามารถกดได้
ถึง 100 ตัน เค้ากลัวว่า ถ้าเค้าทำการกด แล้ว ปลายอีกข้าง มันคงยกตามแรงกด มันก็ คงทดสอบไม่ได้
คงต้องหาวิธี เพื่อ ยึดชิ้นงานให้มั่นคง ถ้าจะเอา คาน ทั้งคาน แล้วติด spacer เข้าไปทดสอบ
ปลายคานอีก ด้าน ก็ ต้อง มีการ ยึดที่มั่นคง เพื่อรับ แรง กดอัน มหาศาล ซึ่งคงเป็นเรื่องที่ยากมากๆ
ถ้า จะกดจาก ตัวรถ ทั้งคันเลย ก็ จะได้ ผลที่ดีกว่า เพราะ มีน้ำหนักรถกดไว้ แต่จะเอาเข้าไปทดสอบ
กันยังไร หล่ะ คงเป็นไปไม่ได้
เจ้าหน้าที่บอกว่า แบบนี้ ต้องทดสอบ กับ เครื่องที่ออกแบบมาเฉพาะ
ท่านยกตัวอย่าง เช่น เครื่องที่ ทดสอบยางรถยนต์ ที่เป็นเครื่องจักรที่ออกแบบมาเฉพาะ
นึกตามนะครับ ประมาณว่า เอาล้อยางรถยนต์ติดตั้งเข้าไป ในเครื่อง แล้วเครื่องก็ จะหมุน ทดสอบ
ยาง ล้อก็จะหมุน โดยมีพื้นเหมือนพื้นถนนจริง เครื่องจักร ก็จะ ยกขี้นยกลง ให้ ล้อมีการสั่น
สะเทือน มีแรงกด ไปที่ล้อ ทดสอบ การสึกหรอ อะไรประมาณนี้แหล่ะครับ พอมองภาพออกนะครับ
แล้วอีกอย่าง ท่านก็ แนะนำว่า การกดโดย ล้อไม่ได้ หมุน ก็จะได้ค่าที่
ไม่สมบูรณ์ เพราะ แรงเครียดก็ จะไปอยู่ที่ น๊อตติดดุมล้อ ตัวบน เพราะน้ำหนักกดอยู่ด้านบน
แต่ สภาพความเป็นจริง ล้อรถ ต้องหมุนใช่มั้ยครับ แรงที่กระทำบน spacer หรือ น๊อตติดดุมล้อ
มันจะกระจาย load ไปเท่าๆกัน ผลทดสอบ จะน่าเชื่อถือกว่า
ผมยินดีครับ ถ้าคุณปอนด์ มี ไอเดีย อะไร หรือ อยากจะทดสอบ ชิ้นงาน หรือ เราจะทำการ ทดสอบ
แบบว่า เอารถ มาจอด แล้ว หา น้ำหนัก มากดลงบนตัว space ก็ได้ครับ โดยค่อยๆ เติม น้ำหนัก
ลงไป ว่า สุดท้าย จะรับได้ เท่าไหร่ อะไร ประมาณนี้ ก็ ได้ ครับ
ขอบคุณ ครับ
|
|
| |
Board : vision12 | |