จำนวนถาม : จำนวนตอบ : รวมทั้งหมด : 0 |
|
ข้อความเลขที่ : 2
2
รูปแสดงวงจรสวิทช์ควบคุมสำหรับเลือกว่าใช้สำหรับชาร์จไฟหรือใช้เป็นเครื่องเชื่อม หากไม่ต้องการสิ้นเปลืองก็ใช้
สวิทช์โยกป๊อกแป๊กสางทาง ใช้สามตัวแทน RL1 และ RL2 ใช้วิธีขนานหน้าคอนแทคสวิทช์เพื่อเพิ่มหน้าสัมผัสให้ทน
กระแสไฟได้มากขึ้น แต่เวลาใช้งานก่อนโยกสวิทช์เลือก จะต้องดับเครื่องยนต์ก่อน เพื่อไม่ให้ IC regulator เสียหาย
เพราะโรเตอร์ยังมีอำนาจสนามแม่เหล็กอยู่ และจะต้องต่อสายไฟจากไดชาร์จเข้าขั้วแบตอีก อิอิ เพราะเวลาเชื่อมเรา
ปลดออกไง อย่า งง นะ
หรืออยากประหยัดสุดก็ตัดสวิทช์ออกไป ใช้ปลั๊กที่ทำไว้ตอตรงได้เลย เอาละ มาว่ากันต่อจากวงจรของผมเพราะไม่อยาก
ต้องคอยปลดสายไฟบ่อยๆๆจึงออกแบบมาใช้รีเลย์แทนสวิทช์ทั้งหมด ซึ่งใช้รีเลย์หลายตัวก็มีเหตุผล ลองอ่านให้เข้าใจก็
จะรู้เอง อิอิ
อุปกรณ์หลักๆที่ใช้มีดังนี้
2.1
สวิทช์ทำหน้าที่ตัดต่อเพื่อจ่ายไฟจากแบตเตอรี่มาเลี้ยงทั้งระบบและรีเลย์
สวิทช์อยู่ตำแหน่ง OFF หมายถึงอยู่ในสถานะชาร์จไฟ
สวิทช์อยู่ตำแหน่ง ON หมายถึงอยู่ในสถานะเครื่องเชื่อม
2.2
รีเลย์ RL1 สถานะชาร์จไฟ
2.2.1- ทำหน้าที่ตัดต่อเลือกใช้ IC regulator เชื่อมต่อขา E ลงกราวน์ สภาวะปกติ NC กราวน์ที่รีเลย์ขา 5 มาต่อผ่านรีเลย์ขา 1
2.2.2- ทำหน้าที่ตัดต่อเลือกให้ขดลวดโรเตอร์ผ่านแปรงถ่านใช้กราวน์ที่ควบคุมโดย IC หรือต่อตรงลงกราวน์ สภาวะ
ปกติ NC จากแปรงถ่านมาที่รีเลย์ที่ขา 6 ใช้กราวน์ควบคุมจาก IC ที่รีเลย์ขา 2
รีเลย์ RL1 สถานะเครื่องเชื่อม
2.2.3- ตัดกราวน์ออกจากขา E ของ IC ที่รีเลย์ขา 5 ไปต่อกับรีเลย์ขา 3 ซึ่งว่างไว้
2.2.4- แปรงถ่านมาที่รีเลย์ที่ขา 6 ต่อตรงลงกราวน์ที่รีเลย์ขา 4
รีเลย์ RL2 สถานะชาร์จไฟ
2.2.5- ทำหน้าที่เลือกขา B ของ IC และแปรงถ่านมาที่รีเลย์ขา 9,12 ต่อกับรีเลย์ขา 1,4 เลือกไฟที่สร้างขึ้นมาจากขดลวด stator
รีเลย์ RL2 สถานะเครื่องเชื่อม
2.2.6- ทำหน้าที่เลือกขา B ของ IC และแปรงถ่านมาที่รีเลย์ขา 9,12 ต่อกับรีเลย์ขา 5,8 เลือกไฟที่มาจากแบตโดยผ่าน RL3
รีเลย์ RL3 สถานะชาร์จไฟ
2.2.7- จาก RL2 ขา 5,8 มาที่ RL3 รีเลย์ขา 4 ทำหน้าที่เลือกกราวน์มาทางขา 2 เพื่อเลือกไฟ 0V หรือกราวน์
รีเลย์ RL3 สถานะเครื่องเชื่อม
2.2.8- จาก RL2 ขา 5,8 มาที่ RL3 รีเลย์ขา 4 ทำหน้าที่เลือกไฟบวก 12V มาทางขา 3
รีเลย์ RL4 สถานะชาร์จไฟ
2.2.9- ทำหน้าที่เชื่อมต่อขั้วได้ชาร์จ B กับแบตเตอรี่ เข้ามาทางรีเลย์ขา 9-12 กับขา 1-4 ต่อไปยังแบตเตอรี่
ผมใช้แบบนี้เพราะไม่ต้องขันน็อตปลดสายแบต-ต่อสายแบตกับไดชาร์จบ่อยๆๆ แต่รีเลย์ที่ใช้หน้าคอนแทคต้องทนกระแสสูงๆ
ได้ดี ผมใช้ ohron LY4 10A 4 คอนแทคต่อขนานกันสองตัวได้หน้าคอนแทคทนกระแสได้ 80A โดยประมาณ ที่คอนหวันหาได้
สูงสุดเท่านี้ รถผมใช้แบตสองลูกช่วงที่ชาร์จแรกๆ มิเตอร์วัดกระแสได้ถึง 60A ซึ่งหนักเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน
รีเลย์ RL4 สถานะเครื่องเชื่อม
2.2.10- ทำหน้าที่ปลดขั้วได้ชาร์จ B ออกจากแบตเตอรี่ โดยเข้ามาทางรีเลย์ขา 9-12 กับขา 5-8 ปล่อยว่างไว้
รีเลย์ RL5 สถานะชาร์จไฟ
2.2.11- ไม่ได้ถูกใช้งาน
รีเลย์ RL5 สถานะเครื่องเชื่อม
2.2.12- ทำหน้าที่เป็น power switch ทำงานพร้อมกันกับสวิทช์หลักในวงจร โดยขนานหน้าคอนแทคกับสวิทช์เพื่อให้ทนกระแส
ไฟได้มากขึ้น
2.3 ชุดความคุมการทำงานของรีเลย์ RL5 ซึ่ง RL5 จะทำงานได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในสถานะเครื่องเชื่อมเท่านั้น เมื่อตรวจจับแรงเคลื่อน
ไฟฟ้าได้มากกว่า 22V ซีเนอร์ไดโอดจะยอมให้กระแสไฟไหลผ่านตัวมันทำให้มีกระแสไฟไปไบอัสกระตุ้นให้ทรานซิสเตอร์ทำงาน
ปิดวงจร ยอมให้กระแสไหลผ่านได้ RL5 จึงลงกราวน์ผ่านตัวมันไป RL5 จึงทำงานได้ พร้อมกับทำให้หลอดไฟแสดงการทำงาน
ติดสว่างด้วย
2.4 ดิจิตอลโวลท์มิเตอร์แสดงผลได้ 0-100VDC โดยวัดแรงดันไฟฟ้าที่ออกมาจากขั้วไดชาร์จขณะเป็นเครื่องเชื่อม
2.5 ด้านล่างของวงจร ตำแหน่งต่อสายที่จะทำเป็น connector ขั้วต่อสายไฟไว้ เพื่อสำหรับต่อพ่วงไปกล่องสวิทช์ควบคุม
และสะดวกต่อการซ่อมบำรุงอื่นๆและสำหรับฉุกเฉินกล่องควมคุมมีปัญหา จะได้ต่อตรงใช้สำหรับชาร์จไฟได้ตามปกติ
ตามหน้าที่ของมัน อิอิ
2.5.1 ปลั๊กตัวซ้ายมือเป็นปลั๊กตัวผู้ ทำติดตัวไดชาร์จไว้
2.5.2 ปลั๊กตัวที่สองจากซ้ายเป็นปลั๊กตัวเมีย ซึ่งมาจากกล่องควบคุม
2.5.3 ปลั๊กตัวที่สามจากซ้ายเป็นปลั๊กตัวเมีย ซึ่งทำไว้สำหรับต่อตรง ใช้สำหรับชาร์จอย่างเดียว
2.5.4 ปลั๊กขวามือสุดเป็นปลั๊กตัวเมีย ซึ่งทำไว้สำหรับต่อตรง ไม่ต้องผ่านสวิทช์รีเลย์ควบคุม ใช้สำหรับเชื่อมอย่างเดียว อิอิ
2.6
การทำงานของวงจรของชุดกล่องควบคุม
เมื่ออยู่ในสถานะชาร์จแบตเตอรี่
2.6.1 สวิทช์อยู่ในตำแหน่ง OFF ไม่มีไฟเลี้ยงเข้าไปทำงาน
2.6.2 ไฟชาร์จจากไดชาร์จไหลผ่านหน้าคอนแทค RL4 จาก 9-12 ไปที่ 1-4 เข้าไปชาร์จแบตเตอรี่และเลี้ยงในระบบไฟรถยนต์ทั้งหมด
เมื่ออยู่ในสถานะเครื่องเชื่อม
2.6.3 สวิทช์อยู่ในตำแหน่ง ON มีไฟเลี้ยงเข้าไปทำให้ RL3, RL4, RL1, RL2 ทำงานตามลำดับ
2.6.4 จากนั้นเมื่อแรงดันไฟฟ้ามากเกิน 22V RL5 จึงทำงานพร้อมทั้งหลอดไฟแสดงการทำงานติดสว่าง
2.6.5 โวลท์มิเตอร์แสดงแรงดันในขณะนั้น
เมื่อทำการเชื่อมเสร็จสิ้น
2.6.6 ลดรอบเครื่องยนต์ลงมาที่รอบเดินเบาปกติ ปิดสวิทช์อยู่ในตำแหน่ง OFF แต่ยังมีไฟเลี้ยงจ่ายทำงานอยู่เพราะรีเลย์ RL5
ถูกต่อขนานไว้กับสวิทช์ ซึ่งยังไม่หยุดทำงานจนกว่าแรงดันไฟจะต่ำกว่า 22V
2.6.7 รีเลย์ RL3 หยุดทำงาน ตัดไฟบวก 12V ออกและต่อลงกราวน์ไปแทน ทำให้ไม่มีไฟเลี้ยงผ่านไปยัง RL2 เพื่อไปยังขดลวด
โรเตอร์จึงหมดสภาพแม่เหล็ก จึงไม่สามารถไปสร้างกระแสไฟฟ้าออกมาได้
2.6.8 เมื่อไม่มีกระแสไฟไปเลี้ยงขดลวดโรเตอร์เพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก แรงดันไฟที่ขั้วไดชาร์จ B จึงตกลงจนต่ำกว่า 22V ไม่มี
กระแสไฟไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดไปไบอัสทรานซิสเตอร์ จึงหยุดทำงานเปิดวงจรไม่มีกระแสไหลผ่านตัวมัน จึงทำให้หลอดไฟ
แสดงการทำงานดับ RL5 หยุดทำงานไปด้วย หน้าคอนแทคแยกจากกันตัดไฟเลี้ยงเข้าวงจร รีเลย์ RL2, RL1, RL4 จึงหยุดทำงาน
2.6.9 เมื่อรีเลย์หยุดทำงานจึงกลับไปสู่สถาณะชาร์จแบตเตอรี่ตามปกติ
ตอบ เมื่อ : 2015-05-20 18:49:02 แก้ไขวงจรกล่องควบคุมใหม่นะ อยู่หน้าที่ 2 หัวข้อที่ 41 ,42
เนื่องจากอันนี้มันยุ่งยากไปหน่อย เอาใหม่แบบง่ายๆๆ แล้วกัน ก่อนลงมือทำให้โทรมาถามก่อนนะว่ามีแก้ไขอะไรอีกบ้าง
|
|